Assignment 6

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

สมาชิกกลุ่ม

54100160 น.ส.ธนวันต์ อุปนันท์
54100172 น.ส.ปนัสวี ผลเจริญ
54100176 น.ส.ปรียา ไชยศรีจันทร์
54100182 น.ส.พนิชา พุกกณะสุต
54100199 น.ส.รัชดาภรณ์ ปั่นสุ่น
54100201 น.ส.ริญญาพร อุดมกูล
54100204 น.ส.รุจิรัตน์ พิชญวรกุล
54100212 น.ส.วิภาดา เรืองเดช
54100221 น.ส.สริตา เจตนากรบัญชา
54100225 น.ส.สุจิวรรณ ภาพันธ์

LAB การสืบค้นข้อมูล 1

 จงทำการศึกษาค้นคว้า Types of Search Engines แต่ละประเภทดังนี้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบของแต่ละประเภทให้ชัดเจน

Crawler-Based Search Engines

Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุดและการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็วจึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน
โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเองที่มีระบบการประมวลผลและการจัดอันดับที่เฉพาะเป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือ เครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Search Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ ทำหน้าที่ในการตรวจหาและทำการจัดเก็บข้อมูลหน้าเพจหรือเว็บไซต์ต่างๆในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูลเหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots
ตัวอย่าง  หนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com Crawler Based Search Engine ได้แก่ Google , Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati (สำหรับ blog) ส่วนลักษณะการทำงานและการเก็บข้อมูลของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูลและการจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกัน

Snap 2012-12-01 at 22.06.44

Google

Snap 2012-12-01 at 22.08.04

YAHOO

Snap 2012-12-01 at 22.11.52

MSN

LIVE

Snap 2012-12-01 at 22.17.05

Technorati (สำหรับ blog)

อ้างอิง

Directories

Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูลด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันในปริมาณมากๆคล้ายๆกับสมุดหน้าเหลืองซึ่งจะมีการสร้างดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่อย่างชัดเจนซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่างๆตามหมวดหมู่นั้นๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิงเพื่อหาข้อเท็จจริงได้ในขณะที่เราค้นหาข้อมูลเพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้ายๆ กันในหมวดหมู่เดียวกันให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา)
ตัวอย่าง
ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory

http://www.dmoz.org

1.ODP หรือ Dmoz ที่หลายๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลกรวมถึงภาษาไทยด้วย

 

Snap 2012-12-01 at 21.59.58

http://webindex.sanook.com

2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกันและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย

Snap 2012-12-01 at 22.01.24

3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่างๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้
อ้างอิง

 

Hybrid Search Engines

Hybrid Search Engines เสิร์ชเอนจิ้นลูกผสมทุกวันนี้มีพัฒนาการของเสิร์ชเอนจิ้นในลักษณะที่นำข้อดีของทั้ง crawler-based และ directories มาใช้งานมากขึ้นแต่โดยปกติแล้วเสิร์ชเอนจิ้นลูกผสมนั้นมักจะให้ผลลัพธ์ในการค้นหาเอียงไปทางใดทางหนึ่งมากกว่าอีกทางหนึ่ง เช่น MSN search นั้น มักจะโอนเอียงไปทางไดเรกทอรี่ที่ดูแลโดย editor มากกว่า crawler-based อาทิเช่น LookSmart (เสิร์ชเอนจิ้นตัวหนึ่งของ MSN) แต่ก็มีการโอนเอียงไปทาง crawler-based เช่นกัน อาทิเช่น Inktormi (เสิร์ชเอนจิ้นตัวหนึ่งของ MSN)โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำค้นหาที่มีความสลับซับซ้อนมากๆ

ตัวอย่าง

Snap 2012-12-01 at 22.03.56

http://www.wondermay.com/search/index.htm

อ้างอิง

Meta Search Engines

Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่างๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเอง เช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บหรือบล็อกของตนเองและอีกประการหนึ่งก็ คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลายๆ แห่งมากประมวลผลรวมกันจึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร
Search Engines ประเภทนี้อาจจัดได้ว่าไม่ใช่ Search Engines ที่แท้จริงเนื่องจากไม่ได้ทำการสืบค้นข้อมูลเองแต่จะส่งต่อคำถามจากผู้ใช้ (query) ไปให้ Search Engines ตัวอื่นผลการค้นที่ได้จึงแสดงที่มา (ชื่อของ Search Engines) ที่เป็นเจ้าของข้อมูลไว้ต่อท้ายรายการที่ค้นได้แต่ละรายการ
ข้อดีของ Search Engines ประเภทนี้คือ
สามารถค้นเรื่องที่ต้องการได้จากแหล่งเดียวไม่ต้องเสียเวลาไปค้นจากหลายที่โดย Search Engines จะตัดข้อมูลที่มีความซ้ำซ้อนกันออกไปเหมาะที่จะใช้ในกรณีที่ต้องการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการให้ครอบคลุมมากที่สุดเนื่องจาก Search Engines เพียงตัวเดียวอาจรวบรวมข้อมูลได้ไม่ครอบคลุมทั้งหมด หรือ Search Engines อาจไม่ได้ทำดรรชนีให้และที่สำคัญช่วยประหยัดเวลาในการค้นให้กับผู้ใช้
ข้อด้อยที่ต้องคำนึงถึง
คำค้นที่ Search Engines แต่ละตัวใช้มีโครงสร้างประโยค (Syntax) ของตนเองซึ่งแตกต่างกันไปแต่ผู้ใช้จะใส่คำค้นที่  Multi Search Engines เพียงคำค้นเดียว (Query) ในกรณีที่คำค้นมีการสร้างสูตรการค้นที่ซับซ้อนหรือใช้ภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษอาจให้ผลการค้นไม่เที่ยงตรงได้เนื่องจากไม่เข้าใจคำสั่งที่แท้จริง
ตัวอย่าง Meta Search Engines
https://i0.wp.com/home.kku.ac.th/hslib/412141/internet/metasearch_files/metacrawler.png

https://i0.wp.com/home.kku.ac.th/hslib/412141/internet/metasearch_files/thaifind.png

อ้างอิง

 

Specialty Search Engines

เป็นซอฟต์แวร์หรือบริการที่ให้บริการค้นหาข้อมูลเฉพาะประเภทที่อยู่ในสภาวะจำกัดเท่านั้น เช่น http://www.amazon.com จะมีเครื่องมือสืบค้นหาหนังสือหรือสินค้าที่สามารถค้นหาได้เฉพาะในร้านของตนเองเท่านั้น napster เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้บริการค้นหาเพลงเฉพาะผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกเท่านั้น http://www.dejanews.com เป็นบริการค้นหาสารสนเทศจาก Newsgroups เท่านั้น

Snap 2012-12-01 at 21.56.45

 www.amazon.com

napster

http://www.napster.com/

อ้างอิง

Assignment 3

Pay Per Click

การโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay per click

การโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay per click คือ วิธีการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากคุณจะเสียค่าบริการก็ต่อเมื่อมีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตคลิกลิงค์ หรือแบนเนอร์เพื่อเข้าชมเว็บไซต์ของคุณเท่านั้นแต่ถ้าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต เพียงแค่ชมลิงค์ หรือแบนเนอร์ของเว็บไซต์ โดยไม่ได้คลิกเข้าชมเว็บไซต์ของคุณ การกระทำนี้เรียกว่า”impression” คุณก็ไม่ต้องเสียค่าบริการให้กับการกระทำดังกล่าว

Pay per Click Advertising มีชื่อเรียกหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • Keywords Advertising

  • Pay Per Click (PPC)

  • Cost Per Click (CPC)

  • Sponsored Link

  • Sponsored Results

  • Paid Placement

  • Paid Listing

  • Paid Advertising

การวิเคราะห์เส้นทางการเข้าชมเว็บไซต์ของบริการ tracking จะทำให้คุณทราบว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์
ทำอะไรบ้างกับเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการบริหารและจัดการกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของคุณ รวมไปถึงเป็นข้อมูลที่ช่วยในการสรุปหาวิธีที่สุดเพื่อ:

  • เพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมาย

  • เพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่แปรเปลี่ยนมาเป็นลูกค้า

  • กระตุ้นให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์เกิดพฤติกรรมการซื้อหรือการใช้บริการ

การเลือกใช้คำค้นหาเว็บไซต์หรือคีย์เวิร์ดที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต
และเหมาะสมกับการบริหารและจัดการกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ
pay per click ที่ดีจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มโอกาส
ที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณขายสินค้า หรือให้บริการได้มากขึ้นตามเป้าหมายที่คุณวางไว้

ระบบโฆษณาแบบ PPC ที่เป็นที่นิยมทั่วโลก ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการสองแบรนด์หลักใหญ่ๆ คือ

1. Google หรือชื่อทางการค้าคือ AdWords
2. Yahoo! หรือชื่อทางการค้าคือ Sponsored Search

การทำการตลาดผ่าน PPC เหมาะสำหรับ ?

1. ต้องการทำโปรโมชั่นในระยะสั้น หรือชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
สามารถเลือกหรือเปลี่ยนแปลง Keyword และข้อความโฆษณาให้เหมาะกับเทรนด์ในช่วงเวลานั้นๆได้ตามต้องการ และยังสามารถเลือกให้แสดงหรือหยุดโฆษณาได้ทุกเมื่อ

2. ต้องการโปรโมทธุรกิจและสามารถเห็นผลได้ภายในระยะเวลาอันสั้น หรือการเปิดตัวสินค้าใหม่
สามารถแสดงโฆษณาบน Search Engine ได้ในเวลาไม่กี่นาที ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาปรับปรุงเว็บไซต์และต้องรอเวลาในการไต่อันดับเหมือนกับการทำ SEO

3. ต้องการโปรโมทธุรกิจด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพแต่มีงบประมาณที่จำกัด
การทำ PPC ช่วยเพิ่มโอกาสที่จะมีคนเปิดเข้าไปดูเว็บไซต์และช่วยเพิ่มยอดขายได้ นอกจากนั้นยังสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะแบ่งโดยภาษาหรือพื้นที่ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะมาจากการคลิกในแต่ละครั้งเท่านั้น และเรายังสามารถกำหนดงบประมาณที่จะใช้ในการโฆษณาได้อีกด้วย

4. ต้องการเพิ่มช่องทางในการโปรโมทสินค้า หรือบริการ
ตำแหน่งของ PPC เป็นส่วนที่สะดุดตาบน Search Result Page จึงมีโอกาสที่ผู้ใช้จะมองเห็นเว็บไซต์ของเราได้ง่าย นอกจากนั้น แม้ว่าจะไม่มีการคลิกเข้าไปดู แต่ชื่อของเว็บไซต์และเนื้อหาที่ต้องการเน้นก็สามารถปรากฏให้ผู้ใช้เห็นได้ ซึ่งจะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเพราะไม่มีการคลิกเกิดขึ้น

5. ต้องการให้เว็บไซต์อยู่ในหน้าแรกหรืออันดับต้นๆบน Search Result Page
หากมี Keyword ที่ต้องการให้เสิร์ชหรือให้ค้นหาเจอ หรือเป็น Keyword ที่ได้ทำ SEO แล้ว แต่เว็บไซต์อยู่ในอันดับที่ไม่ดีนัก ก็สามารถลงโฆษณาแบบ PPC เพื่อให้เว็บไซต์ปรากฏอยู่ในหน้าแรกได้เช่นกัน

เป้าหมายของการใช้บริการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay per click 
คือ เพิ่มผู้เข้าชมเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมาย

ผู้เข้าชมเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมายในที่นี้ หมายถึง ผู้เข้าชมเว็บไซต์ดังต่อไปนี้:

  • ผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่สนใจเว็บไซต์ของคุณ

  • ผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่คลิกเข้าชมเว็บไซต์

  • ผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่ซื้อ หรือใช้บริการของเว็บไซต์คุณ

  • ผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่มาจากประเทศที่คุณสนใจ

  • ผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่กลับเข้ามาใช้บริการของเว็บไซต์คุณอีกครั้ง

เมื่อจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้เพิ่มขึ้น โอกาสที่คุณจะขายสินค้า หรือให้บริการ
ได้ตามเป้าหมายที่คุณวางไว้ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

การวิเคราะห์อัตราการแปรเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าจะทำให้คุณสามารถทำการสรุปได้ว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์ กลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์คุณมาจากที่ใดบ้าง

อัตราการแปรเปลี่ยนมาเป็นลูกค้า คือ ข้อมูลและสถิติต่างๆ ที่จะทำให้คุณทราบว่าเว็บไซต์ของคุณ
มีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่แปรเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าจำนวนเท่าใด ถ้าเว็บไซต์ของคุณมีจำนวนผู้เข้า
ชมกลุ่มเป้าหมายมาก จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่แปรเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าก็มากขึ้นด้วย นอกจากนี้
อัตราการแปรเปลี่ยนมาเป็นลูกค้ายังจะทำให้คุณได้ทราบว่า การโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์
ของคุณมีความคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ และค่าบริการเฉลี่ยต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1 คนอีกด้วย

วิธีการนำข้อมูลและสถิติต่างๆ ที่ได้รับจากบริการ tracking ไปประเมินผลการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay per click

ข้อมูลและสถิติต่างๆ ที่ได้รับจากบริการ tracking มีประโยชน์ต่อการประเมินผลการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay per click ดังนี้:

1.ใช้ในการตรวจสอบการคลิกเข้าชมเว็บไซต์ และประสิทธิภาพของการบริหารและจัดการกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay per click:

  • Keyword คำใดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการโน้มน้าวใจให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเข้ามาชมเว็บไซต์ของคุณ

  • โฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay per click ใดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการโน้มน้าวใจ ให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเข้ามาชมเว็บไซต์ของคุณ

  • เว็บไซต์ หรือ Search Engine ใดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการโน้มน้าวใจให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเข้ามาชมเว็บไซต์ของคุณ

  • ค่าบริการเฉลี่ยต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1 คนของเว็บไซต์คุณ

  • อัตราการแปรเปลี่ยนเป็นลูกค้าของเว็บไซต์คุณ

2.ใช้ในการตรวจสอบให้มั่นใจว่า คุณควรเสียค่าบริการให้กับสิ่งใดบ้าง

  • ผู้เข้าชมเว็บไซต์มาจากที่ใด เช่น มาจากประเทศใด เป็นต้น

  • ระยะเวลาในการเข้าชมแต่ละครั้ง, จำนวนหน้าเว็บไซต์ที่เข้าชม และจำนวนหน้าเว็บไซต์เฉลี่ย

    ต่อการเข้าชม 1 ครั้ง

บริการ tracking จะทำให้คุณได้ทราบอะไรบ้างที่เกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์คุณ

บริการ tracking จะทำให้คุณได้ทราบข้อมูลและสถิติต่างๆ ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของคุณทั้งหมดที่เกี่ยวกับ:

  1. ผู้เข้าชมเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์คุณมาจากที่ใด

  2. ผู้เข้าชมเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์คุณมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างเมื่อเข้าชมเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งบริการ tracking จะทำให้คุณได้ทราบว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์คุณ เข้าชมหน้าเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมหน้าเว็บไซต์ทั้งหมดเป็นจำนวนกี่หน้า เป็นต้น

  3. ผู้เข้าชมเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์คุณใช้ Keyword คำใดในการค้นหาเว็บไซต์ของคุณ

คุณควรใช้บริการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay per click 
จากเว็บไซต์ หรือ search engine ใด

มีเว็บไซต์ และ Search Engine เป็นจำนวนมากที่ให้บริการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay per click เราจึงขอแนะนำให้คุณทดลองใช้บริการของหลายๆที่ เพื่อเปรียบเทียบและค้นหาบริการที่เหมาะสมกับเว็บไซต์ของคุณมากที่สุด แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่คุณควรระมัดระวังไว้ ก็คือ คุณอาจจะใช้บริการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay-per-click ของ Search Engine ที่ซ้ำกันได้ เนื่องจาก Search Engine บางที่ใช้บริการของ Search Engine อีกที่หนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น Hotbot ใช้บริการของ Google ในการค้นหาเว็บไซต์ เป็นต้น โดย Search Engine ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ Google โดยมีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตประมาณ 35-70% ที่ใช้บริการของSearch Engine นี้ โดยมี Yahoo, MSN และ Inktomi ตามมาเป็นอันดับ ที่ 2, 3 และ 4 ตามลำดับ

รายชื่อบริษัทที่ให้บริการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay per click

ข้อดี : คุณจะสามารถลงทะเบียนเว็บไซต์และเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลา 2 ถึง 3 ชั่วโมงเท่านั้นและถ้าหากคุณมีงบประมาณที่มากเพียงพอ คุณก็สามารถทำการประมูล Keyword ในราคาสูงๆได้เพื่อที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณอยู่ในอันดับต้นๆ ของการเป็นเว็บไซต์ผู้สนับสนุน (sponsor listing) ได้ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 1 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ก็มิใช่ว่า บริการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay per click จะมีแต่ข้อดีเพียงอย่างเดียว

ข้อเสีย : ของการใช้บริการนี้ ก็คือคุณต้องเสียค่าบริการทุกครั้งที่มีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตคลิกเข้าชมเว็บไซต์ของคุณ โดยที่คุณไม่สามารถทราบได้เลยว่า ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายนั้นสนใจบริการในเว็บไซต์ของคุณจริงๆ หรือไม่ เพราะฉะนั้น เราจึงขอแนะนำให้คุณใช้บริการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay per click ควบคู่ไปกับการออกแบบ และจัดสร้างเว็บไซต์เหมาะสม และสอดคล้องกับหลักการทำงานของ Search Engine ต่างๆอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาผลการค้นหาเว็บไซต์ใน google ซึ่งการออกแบบและจัดสร้างเว็บไซต์เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักการทำงานของ Search Engine ต่างๆ นั้น คุณสามารถทำได้ด้วยตัวของคุณเอง โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆเลย หรือถ้าหากคุณต้องการความสะดวก และรวดเร็ว คุณก็สามารถใช้บริการของบริษัทที่ให้บริการ search engine optimization (SEO) ชั้นนำได้

ขั้นตอนในการเข้าใช้บริการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ
pay per click และ google adwords

เราขอแนะนำให้คุณทดลองลงทะเบียนเว็บไซต์ด้วย Keyword หลายๆ คำ เพื่อค้นหา Keyword ที่มี
ประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้บริการของเว็บไซต์
ขั้นตอนสำหรับการเข้าใช้บริการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay per click มีดังนี้:

  1. ลงทะเบียนเว็บไซต์ และชำระค่าบริการล่วงหน้า

  2. รับข้อมูลยืนยันการลงทะเบียนเว็บไซต์

  3. เลือกใช้คีย์เวิร์ด และคำอธิบายเว็บไซต์

  4. ตรวจสอบจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อประเมินผลของการเลือกใช้คีย์เวิร์ด และคำอธิบายเว็บไซต์

  5. ปรับเปลี่ยนงบประมาณให้เหมาะสม และสอดคล้องกับคีย์เวิร์ดที่เลือกใช้

Search Engine ส่วนใหญ่จะยินยอมให้คุณประมูลคำค้นหาเว็บไซต์หรือคีย์เวิร์ดในราคาเท่าใดก็ได้ เพราะฉะนั้นคุณจึงสามารถประมูลค้นหาเว็บไซต์หรือคีย์เวิร์ดเพื่อที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณอยู่ในอันดับที่ 1 ของการเป็นเว็บไซต์ผู้สนับสนุน (sponsor listing) ได้ แต่ถ้าหาก Keyword ที่คุณจะทำการประมูลเป็นคำที่ได้รับความนิยมและมีคู่แข่งขันเป็นจำนวนมาก คุณก็อาจจะต้องใช้เงินมากกว่า 5 เหรียญสหรัฐในการประมูล Keyword คำนั้นๆค่าบริการต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1 คนจึงเป็นข้อมูลที่สำคัญในการวางกลยุทธ์ให้กับเว็บไซต์เมื่อมีผู้เข้าชมเว็บไซต์เป็นครั้งแรกคุณต้องทำการตรวจสอบให้มั่นใจว่า ผู้เข้าชมเว็บไซต์จะสามารถค้นหาสิ่งที่สนใจได้และเว็บไซต์ของคุณสามารถโน้มน้าวใจให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์เข้าชมหน้าเว็บไซต์เป้าหมายที่จะก่อให้เกิดพฤติกรรมการซื้อหรือใช้บริการ หน้าเว็บไซต์เป้าหมายในที่นี้ หมายถึง หน้าเว็บไซต์ดังต่อไปนี้:

  • หน้าเว็บไซต์สำหรับการสั่งซื้อ

  • หน้าเว็บไซต์สำหรับยืนยันการให้บริการ

  • หน้าเว็บไซต์สำหรับการสั่งจอง

  • หน้าเว็บไซต์สำหรับลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้บริการ

  • หน้าเว็บไซต์สำหรับการสมัครเป็นสมาชิก

จากผลการวิจัยของบริษัทที่เชื่อถือได้พบว่า ผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่เคยซื้อสินค้า หรือใช้บริการของเว็บไซต์มีโอกาสจะเข้ามาใช้บริการของเว็บไซต์เป็นครั้งที่ 2 ค่อนข้างสูง ดังนั้น คุณจึงต้องทำการตรวจสอบให้มั่นใจว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์จะสามารถค้นหาสิ่งที่สนใจได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าชมเว็บไซต์

วิดีโอประกอบ

อ้างอิง

Google Adwords


Google AdWords คือ การโฆษณาหรือโปรโมทเว็บไซต์รูปแบบหนึ่งกับ Google มีการคิดค่าใช้จ่ายโฆษณาแบบ pay per click เป็นการจ่ายโฆษณาตามที่มีการคลิกดูโฆษณาของเรา การเสียค่าใช้จ่ายแบบนี้จะเป็นการเสียค่าใช้จ่ายตามจริงเมื่อผู้ใช้บริการค้นหาข้อมูลคลิกเข้าชมเว็บไซต์ของเราเท่านั้น
และโฆษณาจะปรากฏให้ผู้ชมเห็นตามคีย์เวิร์ด (Keyword) หรือ กลุ่มคำที่คุณเลือกไว้ซึ่งเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ

ค่าใช้จ่ายการลงโฆษณาผ่าน Search Engine  ในรูปแบบ Cost Per Click ของแต่ละแคมเปญจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับกลุ่มคำหรือคีย์เวิร์ดที่เลือกใช้ คีย์เวิร์ดคำใดที่เป็นที่นิยมและมีคู่แข่งขันเป็นจำนวนมาก ค่าใช้จ่ายต่อการคลิก 1 ครั้งก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น ความชำนาญในการเลือกคีย์เวิร์ดและการเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย ช่วงระยะเวลาและความต่อเนื่องของแคมเปญ จำนวนชิ้นงานโฆษณาของแต่ละแคมเปญ ระบบการดูแลบริหารแคมเปญ เพื่อให้เกิดราคาต่อคลิกที่มีประสิทธิผลสูงสุด   ทั้งหมดล้วนส่งผลถึงงบประมาณที่ใช้ในการโฆษณาทั้งสิ้น

ข้อดีของ Google Adwords
 •  ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานไม่นานก็สามารถทำการโฆษณาเว็บของคุณได้แล้ว ไม่ต้องใช้เวลานานมากเหมือน SEO( Search Engine Optimization)
•  สามารถเลือก Keyword ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณได้ไม่จำกัด
•  กำหนดตำแหน่งของโฆษณาได้แน่นอน ขึ้นอยู่กับราคา Bid ของแต่ละ Keyword
•  อัตราการซื้อและกำลังซื้อของผู้เยี่ยมชมสูงกว่า SEO( Search Engine Optimization)
•  กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างชัดเจน
•  ไม่ต้องคิดถึงกฎเกณฑ์ของ Search Engine
•  คนที่คลิกโฆษณาของคุณนั้นก็คือผู้ที่สนใจใน บริการหรือสินค้าของคุณจริงๆ ซึ่งมีโอกาส มากๆ ที่จะมาเป็นลูกค้าของคุณ
•  ถ้าไม่มีคนคลิกโฆษณาของคุณ ก็ไม่ต้องจ่ายค่าโฆษณาให้กับ Google
•  กำหนด Title และ Description ของโฆษณาได้

ข้อเสียของ Google Adwords
 •  ต้องจ่ายค่าบริการให้กับ Google ทุกครั้งที่มีคนคลิกโฆษณาของคุณ
•  ราคาของ Keyword มีการขึ้นลงอยู่เสมอ ตามการแข่งขัน

Google Adwords (PPC) : การโฆษณาผ่าน Google Adwords เหมาะกับใคร ?

  • เหมาะกับผู้ที่ต้องการโปรโมทสินค้าให้เป็นที่รู้จักในเวลาอันรวดเร็ว

  • เหมาะกับผู้ที่ต้องการโปรโมทสินค้าผ่านเว็บไซต์ Google

  • เหมาะกับผู้ที่ต้องการทำการตลาดออนไลน์แต่ไม่มีเวลาในการดูแลโฆษณา

ทำไมต้องใช้บริการ Google Adwords
•  Google เป็น Search Engine ที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดของโลกในขณะนี้ และยังมี
ส่วนแบ่งการตลาดของ Search Engine รายอื่นๆ ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Google อีกมาก เช่น

America Online(AOL)

Netscape

Earthlink

The Washington Post

Excite

The New York Times

Lycos

AskJeeves

Amazon

และอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นโฆษณาของคุณมีโอกาสสูงทีเดียวที่จะเข้าถึงเว็บไซด์ชั้นนำของ
โลกเหล่านี้ได้
•  ภายใน 15 นาที โฆษณาของคุณจะปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของ Google และเครือข่ายเว็บ
ไซต์ของคุณจะได้รับทราฟฟิกทันที
•  สามารถกำหนดงบประมาณประจำวันได้
•  กำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน เช่น ประเทศ ภาษา เมือง
•  กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างชัดเจน
•  แก้ไข Keyword และเปลี่ยนข้อมูลโฆษณาได้ โดยโฆษณาที่แก้ไขแล้วจะแสดงผลในทันที

ประเภทของ Keyword มี 3 แบบดังนี้

1.Broad Match Keyword (Keyword ทำงานแบบกว้าง) คือ
โฆษณาจะขึ้นสำหรับการค้นหาที่ตรง ใกล้เคียง หรือมีความเกี่ยวข้องกับ Keyword ที่เลือกลงโฆษณา
2.Exact Match Keyword (Keyword การทำงานแบบตรงทั้งหมด) (ใช้เครื่องหมาย [ ] คร่อม Keyword) คือ
โฆษณาจะขึ้นสำหรับการค้นหาที่ตรงกับ Keyword ที่เลือกลงโฆษณาเท่านั้น
3.การใช้ Phrase Match Keyword (Keyword การทำงานแบบวลี) (ใช้เครื่องหมาย “ “ คร่อม Keyword) คือ
โฆษณาจะขึ้นสำหรับการค้นหาที่ตรง หรือมี Keyword ที่เลือกลงโฆษณาอยู่ในการค้นหา โดยไม่มีคำใดมาแทรกระหว่าง Keyword ที่ลงโฆษณา

ความหมายของคำศัพท์ที่ใช้ใน Google Adwords
Keyword หมายถึง คำที่ผู้ใช้ค้นหาในหน้า Google
Landing Page หมายถึง หน้าปลายทางที่ปรากฎหลังจากที่ผู้ใช้คลิกโฆษณา
Relevancy หมายถึง ความเกี่ยวข้องของโฆษณากับ Landing page
CTR (Click Through Rate) หมายถึง อัตราส่วนจำนวนการคลิกต่อจำนวนครั้งที่โฆษณาถูกแสดงผล
Imp (Impression) หมายถึง จำนวนครั้งที่โฆษณาถูกแสดงผล
Quality Score หมายถึง คะแนนการโฆษณาของแต่ละ Keyword มีตั้งแต่ 1-10 คะแนน
CPC (Cost per click) หมายถึง อัตราค่าคลิกต่อครั้ง
CPM (Cost per impression) หมายถึง ค่าคลิกต่อ 1,000 จำนวนครั้งที่มีการเห็น
CPA (Cost per acquisition) หมายถึง ค่าคลิกต่อ Conversion เช่นการสมัครสมาชิก หรือการซื้อสินค้า
Max.CPC หมายถึง ค่าคลิกสูงสุดต่อครั้ง (สกุลเงินบาทหรือ $) ที่กำหนดไว้
Status หมายถึง สถานะของโฆษณา เช่น Active , Pause, Delete เป็นต้น
Campaign หมายถึง แคมเปญโฆษณาในการโฆษณา มีไว้เพื่อบริหาร จัดการ และจำแนกหมวดหมู่โฆษณา

วิธีการสมัคร Google Adwords

สมัครที่ลิ้งค์นี้นะ http://adwords.google.co.th/select/Login

เนื่องจากเราพอจะทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า ปัจจุบัน Google มีอิทธิพลกับโลก Online อย่างไรบ้างมาบ้างแล้ว แต่เราล่ะในฐานะคนที่อยู่ในโลก Online เหมือนกันซึ่งนอกจากเราจะใช้ Google ในการค้นหาข้อมูลแล้ว Google ยังทำอะไรได้อีก

  • เราสามารถใช้ Google เป็นตัวเชื่อมธุรกิจของเราไปสู่ผู้บริโภค ได้ทั้งในและนอกประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ตลาดไม่ได้อยู่แค่วงจำกัดและเราสามารถใช้ Google เลือกตลาดใหม่ๆได้ตลอดเวลา

  • ค่าโฆษณาสามารถเลือกจ่ายได้ว่าจะโฆษณาก่อนจ่ายทีหลัง หรือแบบเติมเงินก็ได้ และจ่ายต่อเมื่อมีคนคลิกเข้ามาเท่านั้น ทำให้คุ้มกับเงินที่จ่ายออกไป

  • สามารถวัดผลและปรับปรุงได้ง่ายจากข้อมูลที่เป็นตัวเลข หลังจากที่ทราบว่าเราสามารถที่จะทำโฆษณา ออกสู่สายตาของคนทั่วประเทศหรือทั่วโลกได้อย่างไรแล้วก็ เริ่มต้นเปิดบัญชีกับ Adword ซึ่งมีค่าเปิดเพียง $5 หรือ ประมาณ 200 บาท เท่านั้นเอง ซึ่งเป็นเงินเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพและผลตอบรับที่เราจะได้

โดยที่หน้าสมัครเราสามารถเลือกเป็นภาษาไทยได้ หรือต้องการภาษาอื่นก็เลือกได้เลย และเลือกที่ช่องลงชื่อเข้าใช้

หลังจากนั้นจะเข้าสู่หน้าให้เลือกรูปแบบของบัญชี ให้เลือกแบบมาตรฐาน เพราะจะสมารถใช้ Google AdWords ครบทุกฟังค์ชั่น

และจะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 1 เลือกสถานที่และภาษา ซึ่งเราสามารถเลือกประเทศเป้าหมายของเราได้ ว่าเราต้องการจะทำตลาดที่ประเทศไหนทั่วโลก และเลือกภาษาที่ใช้เขียนโฆษณา

ส่วนขั้นตอนที่ 2 เป็นหน้าให้ใส่ (Display URL) ของเราลงไป เป็นหน้าที่จะส่งลูกค้าของเราไปสู่เว็บของเรา และข้อความที่เราจะใช้โฆษณา โดยจะมี 3 บรรทัด

บรรทัดที่ 1 เป็นหัวโฆษณา เขียนได้ 25 ตัวอักษร (เป็นข้อความที่ใช้ดึงดูด)

บรรทัดที่ 2 เป็นข้อความโฆษณาข้อความแรก ความยาว 35 ตัวอักษร

บรรทัดที่ 3 เป็นข้อความโฆษณาข้อความที่สอง ความยาว 35 ตัวอักษร (สองบรรทัดเขียนให้คนอยากซื้อสินค้า)

ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนการใส่ Keyword เป็นคำที่คนจะใช้ค้นหาสินค้า
การใส่เครื่องหมาย “-” และ [-] นี้เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคนิค Matching Option
เพื่อให้ Keywords ที่เราใช้สามารถจำกัดเป้าหมายที่ชัดเจนได้

จากนั้นขั้นตอนที่ 4 เลือกสกุลเงินที่เราจะใช้ในการจ่ายค่าโฆษณากับ Aword ซึ่งก็แล้วแต่ผู้ใช้จะเลือกนะครับ แต่สำหรับผมเลือก USD เพราะสะดวกต่อการคำนวณต้นทุน

ขั้นตอนที่ 5 เป็นการตั้งงบโฆษณาต่อเดือน ว่าเราจะจ่ายเงินเป็นค่าโฆษณาเป็นจำนวนเงินไม่เกินเท่าไหร่ต่อเดือน ซึ่งทำให้เราไม่ต้องกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายในอนาคต

แล้วก็กดดำเนินการต่อไป

และก็จะเข้าสู่หน้าที่ Adword จะถามเราว่าเราจะใช้ชื่อบัญชีของเราเป็นอะไร ซึ่งเป็นชื่อ Email-ของเรานั้นเอง ในกรณีนี้ถ้าเรามี Email ของ Gmail ก็เลือกชื่อ Mail ของเราเป็นชื่อ Login ได้เลย และตั้ง password (โดยส่วนใหญ่สมัครครั้งแรกใช้ Gmail จะดีที่สุด) แล้วทาง Google Adword ก็จะส่ง mail มาให้เรายืนยันบัญชีว่าเป็นของเราอย่างถูกต้อง
และเราก็เข้าไปในบัญชีของเรา เราจะพบว่าบัญชีของเรายังไม่แสดงโฆษณาเพราเราจะต้อง จ่ายค่าสมัครซึ่งเป็นเงิน $5 เสียก่อน  ก็เข้าไปตรง บัญชีของฉัน จากนั้นก็เข้าไปใส่ข้อมูลที่เราจะให้ทาง Google เก็บเงินกับเราทางไหน โดยเข้าไปที่
ตั้งค่าเกี่ยวกับการจ่ายเงิน แล้วก็เลือกประเภทบัตรที่จะใช้จ่ายค่าบริการ ซึ่งจะเป็นบัตรเครดิต หรือ e-webcard ก็ได้ และหลังจากเราทำรายการตรงนี้เสร็จแล้วทาง Google ตัดเงินได้แล้วก็จะเริ่มแสดงโฆษณาของเราแล้วครับ

โดยหน้าตาภายใน Account ของเราจะเป็นแบบนี้ครับจะมีค่าจำนวน ที่แสดงโฆษณาของเราต่อวันและจำนวนคลิกเท่าไหร่ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ซึ่งเราสามารถพัฒนาประสิทธิภาพโฆษณาของเราได้ต่อไปครับ
หวังว่าแต่และท่านคงจะนำไปใช้ได้หรือมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

หากคุณเป็นเจ้าของเว็บไซต์ ที่กำลังขายสินค้าและบริการอยู่ อย่ารอช้าที่จะเรียนรู้โปรแกรม google   adwords เพราะโปรแกรมนี้จะทำให้ คุณและลูกค้า มาเจอกันได้โดยตรง แค่ลูกค้าคุณพิมพ์ คำ ?  (keywords) ที่เกี่ยวข้อง กับบริการหรือสินค้าคุณ โฆษณาเว็บของคุณ ก็จะปรากฏขึ้นอยู่ด้านบนสุด หรือฝั่งขวามือทันที (ในภาพ)

ทำไม ? คุณถึงต้องทำโฆษณากับกูเกิ้ลนะเหรอ! ง่ายมากครับ เพราะในประเทศไทย พบว่า คนไทยใช้ Google.com ในการค้นหาข้อมูลสินค้าและบริการต่างๆถึง 98% ดังนั้นถ้าหากโฆษณาเว็บไซต์สินค้าของคุณไปปรากฏบน Google.com ได้ ก็จะช่วยเพิ่มลูกค้าอย่างมากมาย มหาศาล

 มี 2 วิธี ที่คุณจะลงโฆษณาเว็บคุณ ให้ปรากฏบนเว็บ google.com ได้คือ

1. คุณจ่ายเงินให้กับบริษัท หรือตัวแทนโฆษณา ที่รับโปรโมทเว็บผ่านโปรแกรม Google Adwords

2. คุณลงมือทำด้วยตัวของคุณเอง บนโปรแกรม Google Adwords

16 เทคนิคสุดยอดการทำ Google AdWords ให้สำเร็จ

 1. พยายามใส่ Keywords ไว้ในตัวโฆษณา
เราจะต้องแสดงให้กับผู้ที่ค้นหารู้ว่าตัวโฆษณาของเรานั้นสัมพันธ์กันกับสิ่งที่เค้ากำลังค้นหาอยู่ โดยใส่ Keywords ไว้ในตัวโฆษณาของเราด้วย เพราะว่าทาง Google จะแสดงคีย์เวิร์ดนั้นเป็นตัวหนา แล้วก็จะทำให้ตัวโฆษณาของคุณเห็นมากกว่าของคนอื่นครับ

2. ใช้ Keywords ในแต่ละ Group ไม่มาก
การที่เราใช้ Ad Group แค่ตัวเดียวโดยที่มี Keywords เยอะๆประมาณ 1,000 – 2,000 ตัว ไม่เป็นการดีครับ เพราะว่ามันจะทำให้เรามี CTR ที่ต่ำ แล้วก็จะยากต่อการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ทางที่ดีควรจะแยก Keywords ที่คล้ายๆกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน และถ้าหากทำแบบนี้แล้วก็จะสามารถทำตามเทคนิคข้อที่ 1 ได้ด้วยครับ

3. ใส่ Bid ในตอนเริ่มโฆษณาให้สูงๆ
เนื่องจากว่าทาง Google นั้นจะจัดอันดับโฆษณาจากราคา Bid และ CTR เพื่อที่จะทำให้ CTR ของเราสูง   เราจะต้องใส่ราคา Bid ในตอนเริ่มทดลองสินค้าตัวใหม่ให้มากๆก่อน เพื่อที่จะให้โฆษณาของเราอยู่อันดับ 1 – 8 จากนั้น CTR ของเราจะสูงขึ้นแล้วก็ CPC ของเราจะลดต่ำลงเองครับ

4. ตั้งอัตราค่าโฆษณาต่อวันให้สูงกว่าที่ทาง Google แนะนำ
ถ้าเราตั้งค่าโฆษณาต่อวันน้อยเกินไป โฆษณาของเราอาจจะแสดงไม่ตลอดทั้งวัน และแน่นอนครับเมื่อลูกค้าที่กำลังต้องการสินค้าที่เราขายอยู่เข้ามา แล้วไม่เจอโฆษณาของเรา เราก็จะเสียโอกาสนี้ไป วิธีการลดปริมาณการคลิกจากกลุ่มคนที่ไม่ต้องการซื้อของจริงๆ ก็ให้เราใช้ Nagative Keywords , Exact Matches, และกำหนดประเทศในการแสดงโฆษณา

5. หลีกเลี่ยง Keywords ที่มีการแข่งขันสูง
อย่าเสียเงินโดยใช่เหตุโดยการใส่ Bid สูงๆกับ Keywords ที่มีการแข่งขันกันเยอะ ให้เราทำหา Keywords ที่มีคนค้นหาน้อยแต่ว่าหามาหลายๆ Keywords ดีกว่าครับ เพราะว่า Keywords ที่มีคนค้นหาน้อยแต่ว่าหลายตัว ก็จะเท่ากับหรือมากกว่า Keywords ที่มีคนค้นหาเยอะแค่คำเดียว แถมยังมีราคา Bid ถูกมากๆครับ

6. ตั้งราคา Bid ใน Exact Matches Keywords ให้สูงกว่า Keywords แบบอื่น
ให้เราใช้ Exact Matches Keywords ร่วมด้วยกับ Matches แบบอื่นๆ แล้วก็ตั้งราคา Bid ให้สูงกว่าแบบอื่นเล็กน้อย เพราะว่า Google จะให้ความสำคัญกับ Exact Matches Keywords มากกว่า Matches แบบอื่นใน Keywords เดียวกัน เช่นใน group หนึ่งเราตั้งราคา Bid ไว้ที่ 0.10 เราก็กำหนดให้ Bid ของ Exact Matches Keywords เป็น 0.25 ดังตัวอย่างข้างล่างครับ
[online casino] ** 0.25
“online casino”

7. ใช้ Negative Keywords
ตัวโฆษณาของเราจะไม่แสดงถ้าเกิดว่าการค้นหามี Negative Keywords อยู่ด้วย ให้เราใส่ Negative Keywords ไปด้วย เพราะว่ายิ่งมี Negative Keywords มากเท่าไหร่ CTR ของเราก็จะยิ่งเพิ่มมากขั้นไปด้วย เป็นการประหยัดเงินแล้วก็ทำให้ตำแหน่งโฆษณาของเราสูงขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่นสินค้าของเรานั้นเป็นแบบ premium ก็ให้เราใส่ Negative Keywords ที่ไม่เกี่ยวกับ premium ไว้ด้วย
[premium web hosting] ** 0.25
“premium web hosting”
-free
-cheap
-discount

8. ใช้ Landing Page ให้สัมพันธ์กับสินค้า
เพราะว่าถ้าหากลูกค้าคลิกที่โฆษณาแล้วไปที่หน้าที่ขายสินค้าทันที ก็จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่าย อย่าลืมนะครับว่าลูกค้าของเรามีเวลาไม่มากในการค้นหา ถ้าเค้าเจอเว็บที่ไม่เกี่ยวข้องกับความต้องการของเค้า เค้าก็จะปิดเว็บนั้นไป เราก็จะเสียโอกาส

9. แยกการค้นหาแบบ Search และ Content Campaigns
มีหลายๆคนที่เสียเงินโดยใช่เหตุ เพราะว่าไม่ได้แยกการค้นหาแบบ Search และ Content ส่วนมากเราจะไม่รู้จะไม่สังเกตว่า Google นั้นจะให้โฆษณาของเราไปปรากฏที่ Google Content Network ด้วย เราจะต้องปิดบริการตัวนี้หรือว่าแยกเอาไว้เป็น 2 ส่วน

10. ใช้ Ad หลายๆแผ่นแล้วนำมาเปรียบเทียบ (Split)
Google นั้นให้เราสร้างตัวโฆษณาหลายๆแผ่นใน Ad เดียวกัน ให้เราสร้างตัวโฆษณามาอย่างน้อย 2 แผ่นเพื่อที่จะได้เปรียบเทียบว่าแผ่นไหนดีกว่ากัน ถ้าโฆษณาแผ่นไหนไม่ดีก็ให้ลบทิ้งแล้วก็สร้างใหม่ อาจจะแค่สลับบรรทัดหรือเปลี่ยนคำเป็นบางคำ

11. ติดตามผล
อย่าเชื่อในรายงานของ Google มากนัก ไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่ว่าข้อมูลแค่นี้ไม่เพียงพอ เพราะว่าอาจจะมีการคลิกแกล้งให้เราเสียเงินแต่ไม่ซื้อสินค้าจากคู่แข่งของเราได้ ถ้าหากว่าไม่มี Tracking Software ก็ให้เราหาดาวโหลดมาใช้นะครับ

12. ใส่คำที่กระตุ้นให้อยากคลิกไว้ใน Headline
ให้เราเริ่มต้นด้วยคำที่กระตุ้นให้อยากคลิกเข้าไปดูเช่น “Free:, New:, Sale:, etc.” แต่เราต้องเช็คด้วยว่าคำที่เราใช้นั้นทาง Google อนุญาตรึเปล่า

13. ใส่คำที่กระตุ้นให้อยากคลิกไว้ในตัวโฆษณา
ให้เราใส่คำที่ดูแล้วน่าคลิกเข้าไปเช่น “free, cheap, sale, special offer, time limited offer, tricks, you, tips, enhance, discover, fact, learn, at last, free shipping, etc.
ตัวอย่างเช่น
* Buy Today – Save 50%
* Download Free Trial Now
* Sale Ends Tomorrow

14. ใส่คำที่ดูแล้วดูดีกว่าคู่แข่งคนอื่น
อะไรที่จะทำให้สินค้าของคุณดูดีกว่าหรือแตกต่างจากคู่แข่ง ให้เราใส่ไปในข้อความโฆษณาด้วย ตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ Amazon.com จะเขียนข้อความไว้ในบรรทัดแรกว่า “Earth’s Biggest Bookstore” นี่เป็นคำที่ดูแล้วน่าเข้าไปดูในเว็บไซต์มาก

15. เอาคำที่ไม่มีประโยชน์ออก
ตัวอย่างเช่น “a, an, in, on, it, of” อย่าใส่คำพวกนี้ลงไปในตัวโฆษณา เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองคำเปล่าๆ

16. ใส่ราคาลงไปในตัวโฆษณาด้วย
เพราะว่าจะทำให้คนที่ไม่มีศักยภาพในการซื้อไม่คลิกที่ตัวโฆษณาของเรา

Shared Budget: Feature ใหม่จาก Google Adwords

เพื่อนๆที่ทำ Google Adwords คงเคยเจอปัญหาเวลาที่เรามี Campaign มากกว่า 1 Campaign แล้ว บาง Campaign ก็ใช้เงินเยอะจนเกินงบในบางวัน บาง Campaign ก็เหลือเงินเยอะเกินในบางวันด้วย Feature ใหม่ตัวนี้ที่ชื่อ Shared Budget จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ครับ ซึ่ง Feature ตัวนี้ Google ปล่อยออกมาตั้งแต่ประมาณกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมาผ่าน Adwords Blog

ประโยชน์ของ Shared Budget

ทำให้เพื่อนๆสามารถ set Total Daili Limit ร่วมกัน สำหรับ 2 campaigns ขึ้นไปได้ โดยถ้ามี Campaign นึงเงินใกล้จะหมดในวันนั้น ระบบจะทำการดึงงบที่ยังเหลือของอีก Campaign นึงมาทดแทนให้ครับ

วิธีใช้งาน

  1. ให้เข้าไปที่หน้าของ Google Adwords

  2. เข้าไปที่ Shared Library

  3. จากนั้นเลือก Budgets

  4. จากนั้นก็กรอกชื่อ Budget ตัวนี้เพื่อเอาไว้อ้างอิงทีหลัง

  5. เลือก Campaign ที่เราต้องการ Share Budget

  6. ใส่จำนวนเงินที่จะ Share กัน

  7. แล้วกด Save เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ

ด้วย Feature Shared budget ตัวนี้ จะช่วยให้คนที่เจอปัญหาแบบนี้ประหยัดเวลาได้มากขึ้น

วิดีโอประกอบ
โฆษณา Google Adword คืออะไร


AdWords คืออะไร



จัดระเบียบบัญชี AdWords ของคุณอย่างไรดี


AdWords ใช้ได้ผลหรือไม่ ทราบได้อย่างไร


การตั้งค่าบัญชี AdWords


หลัก 5 ข้อสู่ความสำเร็จกับ AdWords

วิธีเขียนโฆษณาที่ดึงดูดลูกค้า

อ้างอิง

Google AdSense

Google AdSense คือ บริการจาก Google ที่ให้ผู้ที่มีเว็บไซต์ สามารถหารายได้โดยการนำ Code ที่ได้จากการสมัครเป็นสมาชิกของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ของตนเอง ซึ่ง Code นั้นจะเป็น โฆษณาที่ส่งมาจาก Google โดยโฆษณานั้น ๆ จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ตัวอย่างเช่น ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โฆษณาที่ส่งมาจาก Google ก็อาจเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ โรงแรม,สายการบิน เป็นต้น

โฆษณาที่ส่งมาจาก Google นั้น ๆ มีทั้งแบบ Text ,รูปภาพ และมีหลายขนาด ให้คุณได้เลือก นอกจากนั้นยังสามารถเลือกรูปแบบสีได้ตามความต้องการ เพื่อความเหมาะสมกับเว็บไซต์ของคุณ

แล้วโฆษณาต่าง ๆ เหล่านั้นมาจากไหน ??? หลายคงอาจสงสัย โฆษณาต่าง ๆ เหล่านั้นมาจากการทำ Google Adwords ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่ให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่ต้องการขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ โฆษณาสินค้าของตนเอง ผ่าน Search Engine ของ google รวมถึงเว็บไซต์อื่นๆ ที่นำ Google Adsense ไปติด เพื่อให้โฆษณาของตนเองอยู่ในตำแหน่งที่เด่น (เมื่อ Search ใน Google) กว่าข้อมูลอื่นที่ได้ผลลัพท์จากการค้นหา

รายได้จาก Google AdSense จะเกิดตอนไหน
จะมีอยู่ 2 กรณีครับคือ
• จ่ายเมื่อคลิก (Pay Per Click)
เมื่อคนที่เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ คลิกที่โฆษณาของ Google AdSense ซึ่งแต่ละคลิกจะได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับผู้ที่ทำ Google Adwords จ่ายให้ Google มากน้อยเท่าไร ถ้าจ่ายให้มากคุณก็จะได้มากด้วยเช่นกัน
• จ่ายเมื่อแสดงโฆษณา (Pay Per Impression)
อันนี้จะจ่ายให้คุณเมื่อมีการแสดงโฆษณา ครบ 1,000 ครั้ง โดยไม่นับว่าจะมีคนคลิกกี่ครั้งก็ตาม คุณจะไม่ได้รายได้จากการคลิก

นอกจากโฆษณาต่าง ๆ แล้ว การแนะนำบริการต่าง ๆ ของ Google เมื่อมีคนใช้บริการ
คุณก็จะมีรายได้จากการแนะนำนั้นด้วยซึ่งมีอยู่ดังต่อไปนี้

Google AdSense 
• ค่าตอบแทน $5 หากมีผู้ที่สมัคร Google Adsense ผ่าน Referral ของคุณและได้ $5 ภายใน 180 วัน
• ค่าตอบแทน $250 หากภายใน 180 วันถ้าผู้ที่สมัคร Google Adsense ผ่าน Referral ของคุณสามารถทำได้ $100 โดยผู้ที่สมัครต่อจากคุณต้องกรอก PIN ก่อนคุณถึงจะได้รับค่าตอบแทน
• ค่าตอบแทน $2,000 หากคุณมี 25 คนที่สมัครต่อจากคุณภายในระยะเวลา 180 วัน ที่สามารถทำได้มากกว่า $100 คุณจะได้รับโบนัสเพิ่มทันที (โบนัสจะได้รับ 1 ครั้ง/ปี)

Google AdWords 

• ค่าตอบแทน $5 หากมีผู้ที่สนในลงโฆษณากับ Google Adwords ผ่าน Referred ของคุณและชำระค่าบริการ $5
• ค่าตอบแทน $40 หากผู้ที่ลงโฆษณากับ Google Adwords ใช้บริการโฆษณาและชำระค่าบริการ $100 ภายใน 90 วัน
• ค่าตอบแทน $600 หากมีผู้สมัครผ่านคุณ 25 คนที่ลงโฆษณากับ Google Adwords โดยผู้ที่โฆษณาใครก็ตามที่ชำระค่าบริการมากกว่า $100 ภายใน 90 วัน คุณจะได้รับโบนัสเพิ่มทันที (โบนัสจะได้รับ 1 ครั้ง/ปี )

Firefox 
คุณจะได้ 1$ เมื่อมีคนดาวน์โหลด Firefox จากเว็บของคุณ แต่ผู้ดาวน์โหลดนั้น ๆ ต้องไม่เคยติดตั้ง Firefox มาก่อน

AdSense for search
คุณจะได้เงินมีคนมาใช้ Google Search Box จากเว็บของคุณ แล้วคลิกโฆษณาผลลัพธ์ที่ได้จากการ Search นั้น ๆ (เว็บไซต์ที่ อยู่ในตำแหน่งสปอนเซอร์ จะอยู่ด้านบน เป็นกรอบที่เด่นชัด) ค่าตอบแทนจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ Keyword ที่ผู้ใช้ค้นหา ซึ่งจะไม่เท่ากัน

Google Apps 
Google Apps คือระบบที่เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ซึ่งในระบบจะมีบริการต่างๆที่สมาชิกในกลุ่มใช้ได้ เช่น อีเมลล์ ระบบการการสนทนาผ่าน Instant Massaging ระบบปฎิทิน ที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช่ร่วมกันได้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างภายในสมาชิก ระบบทั้งหมด Google เป็นผู้ให้บริการ โดยที่คุณไม่ต้องลงทุนอุปกรณ์และค่าซอฟท์แวร์แต่อย่างใด รวมถึงไม่ต้องเสียค่าบำรุงรักษา

คุณจะได้รับ $5 จากที่มีผู้สนใจคลิกโฆษณา Google Apps ผ่านเว็บไซด์ของคุณและได้ทำการลงทะเบียนอย่างเสร็จสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามหากผู้ที่สนใจไม่ได้สมัคร Google Apps ทันทีก็ตามระบบจะเก็บขอมูลการคลิกโฆษณา Google Apps จากเว็บไซด์ของคุณต่ออีกเป็นเวลา 4 สัปดาห์ นั่นหมายถึงเขาอาจจะสมัครหลังจากนั้นก็ได้ แล้วคุณก็ยังได้รับรายได้อยู่

Google Apps สำหรับธุรกิจ

Google Checkout 
Google Checkout คือระบบการจับจ่ายซื้อสินค้าที่สะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว ด้วยระบบการรับชำระของ Google Checkout คุณสามารถทำรายการสั่งซื้อและจ่ายค่าสินค้าตลอดจนตรวจสอบรายการ การสั่งซื้อหรือการจ่ายค่าสินค้าได้ด้วยตัวเองผ่านหน้าเว็บไซด์

คุณจะได้รับ $1 ถ้ามีผู้ที่สมัครบัญชี Google Checkout ผ่านการแนะนำจากเว็บไซด์ของคุณ และได้ทำรายการสั่งซื้อสินค้าภายใน 90 วันและรายการทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์จนการชำระค่าสินค้าเสร็จสิ้น โดยมูลค่าของสินค้าต้องมีมูลค่า $10 ขึ้นไป ก่อนที่รวมภาษีและค่าขนส่ง ภายใน 7 วัน

อ้างอิง

Google Analytics

Google Analytics ตัวเก็บสถิติเกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ พฤติกรรมของคนที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซด์ รวมทั้งติดตามประสิทธิภาพของแคมเปญการโฆษณา Adwords หรือโปรแกรมการโฆษณาอื่นๆ ด้วยข้อมูลนี้ จะทราบว่าคีย์เวิร์ดใดที่ได้ผล ข้อความโฆษณาใดมีประสิทธิภาพมากที่สุดและผู้เข้าชมเว็บไซต์ออกจากเว็บไซต์ที่จุดใด Google Analytics ใหม่ช่วยให้สามารถปรับปรุง ผลลัพธ์ออนไลน์ของคุณได้ง่ายขึ้น เขียน โฆษณาได้ดีขึ้น เพิ่มความแข็งแกร่งให้โปรแกรม การตลาด และสร้างการแปลงของเว็บไซต์ที่สูง ขึ้น Google Analytics สามารถใช้งานได้ฟรีโดยผู้โฆษณา ผู้เผยแพร่และเจ้าของเว็บไซต์ทุกท่าน

ความสามารถหลัก ของ Google Analytics
Google analytics แบ่งความสามารถตามจุดประสงค์การใช้งานได้ดังต่อไปนี้คือ

  • สถิติเกี่ยวกับ Visitor รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์

  • สถิติเกี่ยวกับ Traffic รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางในการเข้าถึงเว็บไซต์

  • สถิติเกี่ยวกับ Content รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถิติการเข้าชมเนื้อหาภายในหน้าเว็บไซต์

  • สถิติเกี่ยวกับ Goal วิเคราะห์ว่าผู้ใช้งานเข้าถึงเป้าหมายภายในเว็บไซต์ได้อย่างไร

การสมัครขอใช้ Google Analytics

การสมัครขอใช้ Google Analytics ให้ไปที่ http://www.google.com/analytics/th-TH/

รูปด้านล่างเป็นหน้าแรกที่คุณเจอหากคุณต้องการขอใช้ ให้คลิกที่ ลงชื่อสมัครเข้าใช้วันนี้

ระบบ จะนำท่านมาหน้าเข้าใช้งาน ดังรูป หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิกของ google เลย ให้คลิก ที่หมายเลข 1? หากคุณมี username แล้วให้ login ได้เลย ที่หมายเลข 2

จากนั้นระบบจะให้ใส่ข้อมูลเว็บของคุณให้กรอกรายละเอียดให้ครบ แล้วคลิ๊ก ดำเนินการต่อ

จากนั้นระบบจะให้ใส่ข้อมูลผู้ติดต่อให้กรอกรายละเอียดให้ครบ แล้วคลิก ดำเนินการต่อ

จากนั้นระบบจะให้เราตอบตกลงยอมรับเงื่อนไขให้คลิก ใช่ แล้วดำเนินการต่อ

กรณีศึกษาการใช้ Google Analytics

จากเว็บไซต์ของ Google เอง (http://www.google.com/analytics/th-TH/case_studies.html) ได้แสดงถึงกรณีศึกษามากมายที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นการแสดงถึงการใช้ Google Analytics จนประสบความสำเร็จ

กรณีของเครือข่ายของบริษัท RE/MAX ซึ่งทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งดำเนินการใน 62 ประเทศ
ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการค้าบนอินเทอร์เน็ต จึงจัดตั้งเว็บไซต์ http://www.remax.com ขึ้นในเดือนสิงหาคม 2005 เพื่อช่วยผู้ที่เข้ามาในการค้นหาบ้านและเลือกตัวแทน ได้นำ Google Analytics เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์เพื่ออยากทราบว่าทำไมคนถึงได้เข้ามายังเว็บไซต์แห่งนี้ พวกเขามาจากไหนและพวกเขาทำอะไรบ้างระหว่างที่อยู่ในเว็บไซต์ที่สำคัญ ผู้บริหารได้เห็นว่า ด้วยจำนวนคนที่เข้ามามากกว่า 2 ล้านคนต่อเดือน กว่าร้อยละ 90 มาจากเครื่องมือค้นหาซึ่งใช้คำค้นหา เช่น “remax” และอื่นๆ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ช่วยให้ทางเว็บไซต์ขยายคำสำคัญเพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถเข้ามาและมีส่วนร่วมกับทาง http://www.remax.com

กรณีของบริษัท Discount Tire ซึ่งดำเนินธุรกิจจำหน่ายยางรถยนต์ราคาถูก โดยขายผ่านร้านค้าปลีกและอินเทอร์เน็ต (ผ่านทาง http://www.discounttire. com) ซึ่งดำเนินการมากว่า 40 ปี มีร้านค้า 600 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ หลังจากที่ทางบริษัทใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ต่างๆ หลากหลาย จนกระทั่งพบว่า Google Analytics ปรับใช้ง่ายที่สุดและมีค่าใช้จ่ายแทบจะเป็นศูนย์ ทาง Discount Tire ใช้โปรแกรมนี้ในการวิเคราะห์รูปแบบการซื้อของลูกค้าแต่ละรายและติดตามหนทางในการใช้เว็บไซต์เพื่อช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการโต้ตอบของลูกค้า อีกทั้งยังช่วยแสดงให้เห็นถึงข้อความที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้ถึงร้อยละ 14 ในสัปดาห์เดียว สำหรับปุ่มเช็กเอาต์คือจากคำว่า “ซื้อและสำรองผลิตภัณฑ์” เป็น “เช็กเอาต์และสำรองผลิตภัณฑ์” นอกจากนี้ Google Analytics ยังช่วยให้พบว่าผู้ใช้งานจะออกจากตะกร้าสินค้า หากสินค้าที่เลือกซื้อนั้นไม่อยู่ในสต๊อคของร้านค้าในพื้นที่ Discount Tire จึงได้เพิ่มข้อความเข้าไปเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าคือ ทางบริษัทจะระบุและสต๊อคสินค้ารายการนั้นไว้ ด้วยวิธีดังกล่าวสามารถช่วยลดอัตรายกเลิกการซื้อสินค้าลงและเพิ่มยอดขายได้ถึงร้อยละ 36 ผู้บริหารของ Discount Tire จึงสรุปว่า “Google Analytics ช่วยให้เราจัดลำดับความสำคัญสิ่งที่ควรทดลองก่อน แล้ววัดค่าความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงแต่ละอย่างเพื่อให้แน่ใจว่าสมมุติฐานของเราถูกต้อง Google Analytics คือหัวใจสำคัญในการปรับปรุงเว็บไซต์และการใช้งานของลูกค้า”

จากรายละเอียดของโปรแกรมและกรณีศึกษา คงทำให้คุณตระหนักถึงความสำคัญของ Google Analytics ที่เสมือนหนึ่งเป็นเข็มทิศที่พาเราไปสู่แนวทางการตลาดที่ถูกต้องและเสริมสร้างความสำเร็จในธุรกิจออนไลน์

วิดีโอประกอบ

อ้างอิง

Affiliate Marketing

Affiliate Marketing หรือ การเป็นนายหน้าขายของผ่านอินเทอร์เน็ต นั้นคือการทำโฆษณาสินค้าผ่านตัวแทนต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งเมื่อก่อนการขายสินค้าและบริการจะจำกัดอยู่ที่ การลงโฆษณาบนหน้า หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ แผ่นพับ หรือ ใบปลิว ต่าง ๆ ซึ่งเมื่อคนต้องการขายของก็จะทำการลงโฆษณาในสื่อต่าง ๆ พวกนี้และในสมัยต่อมาได้มีสื่ออินเทอร์เน็ตขึ้นมาทำให้การโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตทำได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นการนำ Banner ป้ายโฆษณา ต่าง ๆ ไปติดไว้บนเว็บไซต์ที่มีคนเข้าชมเยอะ ๆ หรือ เว็บไซต์ที่ตรงกับกลุ่มลูกค้าของสินค้านั้น ๆ หรือการไปซื้อโฆษณาจากเว็บไซต์ค้นหาต่าง ๆ เช่น Google Search, Yahoo Search Msn Search เป็นต้น ซึ่งเมื่อคนเห็นโฆษณาแล้วก็ทำการคลิกเข้าไปซื้อสินค้า ผู้ลงโฆษณาหรือเจ้าของสินค้าก็ได้รับเงินผลกำไรไป แต่แล้วก็มีกระทาชายนายหนึ่งหัวใส คิดว่าการที่ตนเองลงโฆษณาคนเดียวนั้น มันไม่ค่อยสะดวก ไหนจะต้องเหนื่อยดูแลและไหนจะต้องคอยบริหารสินค้าต่าง ๆ ก็เลยเกิดความคิดที่ว่า ให้ใครก็ได้มาขายของให้ตนเอง และถ้าขายได้ก็จะให้ค่า Commission กลับคืนไป เมื่อมีผู้ผลิตสินค้า ทำรูปแบบนี้เยอะ ๆ เข้าก็เลยเกิดเว็บไซต์ Affiliate Provider ขึ้นมาทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อ และ ผู้ขาย โดย Affiliate Provider นี้จะคอยดูแลร้านค้าต่าง ๆ ไม่ให้โกง คนขาย (Affiliate Marketer) และ คอยดูแล คนขาย ไม่ให้โกง ร้านค้า ด้วย ซึ่งการมี Affiliate Provider นี้ ทำให้การทำธุรกิจเป็นไปด้วยความรวดเร็วและโปร่งใส่ ซึ่ง Affiliate Provider เจ้าดัง ๆ ก็เช่น Cj.com, Linkshare.com, Clickbank.com , Shareasale.com และ ฯลฯ

ข้อดีของ Affiliate Marketing

– ไม่จำเป็นต้องมีสินค้าของตัวเอง
– ไม่จำเป็นต้องบริการหลังการขาย
– ไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ก็ได้ (แต่ถ้ามีจะช่วยเพิ่มมูลค่าขึ้นเยอะ – ขอกล่าวถึงในบทต่อไป)
– สามารถควบคุมต้นทุนได้
– สามารถหยุดการขายได้ทันทีถ้าไม่มีกำไร เนื่องจากไม่ต้อง Stock สินค้า
– สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ ขอเพียงมี Internet
– วันใดไม่ได้ทำงาน แต่ก็ยังมีรายได้เข้ามาเรื่อย ๆ
– ไม่ต้องห่วงเรื่องโดนโกงค่า Commission

ความง่ายของงานนี้อยู่ตรงที่ว่า

  • คุณสามารถสร้างรายได้อย่างงดงามโดยคุณไม่จำเป็นต้องมีสินค้าหรือว่าบริการหรือว่าเว็บไซท์เป็นของตนเอง

  • ไม่ต้องส่งของ

  • ไม่ต้องสต๊อคสินค้า

Affiliate Marketing เหมาะกับคุณหรือไม่

ธุรกิจนี้เหมาะสมกับคุณหรือไม่ ฉันคงก็ต้องถามคุณก่อนว่า ถ้าสมมุติว่ามีคนบอกคุณว่า ฉันมีงานตัวหนึ่งให้คุณทำแล้วคุณจะรวยเป็นเศรษฐีระดับหมื่นล้านโดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรเลย คุณคิดว่าคำกล่าวนี้จะเป็นจริงหรือไม่ ได้โปรดเถิดค่ะ จอร์จ! ไม่มีงานใดๆในโลกที่คุณไม่ต้องทำอะไรเลยเพื่อให้ได้เงินมาและต่อให้คุณได้เงินก้อนนั้นมาจริงๆคุณก็คงไม่มีความภาคภูมิใจในงานนั้นเท่าไหร่ และคนรอบข้างของคุณก็คงไม่ภูมิใจเป็นแน่ เป็นความจริงที่ว่า มีผู้คนหลายล้านที่กำลังแสวงหาช่องทางในการทำเงินบนอินเทอร์เน็ตทั้งในประเทศไทย และในต่างประเทศและ 90% มักหลงเดินไปบนถนนที่ผิดเส้นทาง ซึ่งในปลายทางนั้นมักนำความหายนะมาสู่เขาเหล่านั้นนั่นเอง

ทีนี้คำถามที่น่าสนใจ กลับอยู่ที่ว่า…
แล้วเราในฐานะนัก Affiliater จะจับช่องทางการตลาดในบ้านเราให้เกิดประโยชน์ต่อตัวของเรามากที่สุดได้อย่างไรต่างหากค่ะ อาจจะฟังดูเหมือนง่าย แต่คุณต้องมีทักษะในการทำการตลาดแบบ Affiliate Marketing  เรียนรู้เทคนิคในการโปรโมท Links ในแบบต่างๆทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว สำหรับฉันเองมองว่า Affiliate Marketing ไม่ใช่การขายสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการวิเคราะห์ตลาด การเก็บสถิติ การศึกษาพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย การลงทุนด้วยเวลา แรงกาย แรงสมอง จึงเป็นเหตุผลที่คนทำ Affiliate ถูกเรียกว่า Affiliate Marketer เพราะได้นำหลักการตลาดมาใช้ร่วมด้วยนั่นเอง

ทำ Affiliate Marketing ในไทยแล้วรวยไหม?

หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้เลยเกิดคำถามขึ้นมาว่า ถ้ามันง่ายอย่างนี้แล้วทำไม่ไม่เห็นรู้จักละ! ฉันเป็นคนหนึ่งที่รู้จักการทำการตลาดแบบ Affiliate มานานพอสมควร แต่พอลองวิเคราะห์ดูแล้วการที่ในประเทศไทยยังมีคนรู้จักหรือลงมือทำระบบ Affiliate Marketing น้อยมาก นั่นเพียงเพราะ พฤติกรรมการซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ตของคนไทยมีน้อย เนื่องจากความไม่เชื่อมั่นหรือความไม่คุ้นเคยกระมัง กับความปลอดภัยของการชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตนั่นเองและยิ่งไปกว่านั้นระบบ Affiliate Marketing ในไทยปัจจุบันยังจ่ายผลตอบแทนหรือค่าคอมมิสชั่นน้อย ไม่สามารถดึงดูดเหล่านัก Affiliate Marketer ให้หันมามองหรือสนใจลงทุนกับตลาดในประเทศไทยได้ ตลาดส่วนใหญ่จึงมุ่งไปทางทวีปยุโรปซึ่งให้ผลกำไรที่มากกว่าหลายเท่าตัว อย่างไรก็ตาม หลายปีที่ผ่านมานี้ เป็นที่น่าตกใจว่าประเทศไทยมีสถิติการใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเหล่าเซียนการตลาดในประเทศไทยกำลังหันกลับมาให้ความสนใจกับการทำ Affiliate Marketing กันอย่างแพร่หลายและมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ถ้าหากว่าใครมีโอกาสได้เริ่มศึกษาหรือลงมือทำก่อนก็ย่อมได้เปรียบคนอื่น โอกาสที่จะประสบความสำเร็จและทำกำไรในธุรกิจนี้ย่อมมีสูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

การทำงานของระบบ Affiliate Marketing

  • เจ้าของสินค้า/บริการ สมัครเป็นสมาชิก Affiliate Provider

  • เจ้าของสินค้า/บริการ แสดงสินค้าพร้อมค่าคอมมิสชั่น ที่ Website ของ Affiliate Provider

  • ผู้ขาย สมัครเป็นสมาชิกของ Affiliate Provider

  • ผู้ขาย สมัครเข้าเป็นตัวแทนขาย กับสินค้านั้น ๆ ที่เลือก

  • ผู้ขาย นำ Link หรือ Banner ของสินค้า ไปติดที่เว็บไซต์ตัวเอง หรือ นำไปโปรโมท ตาม Search Engine

  • ผู้ซื้อ คลิกผ่าน Link หรือ Banner ที่ผู้ขายนำไปติดไว้ แล้วไปซื้อสินค้า

  • ผู้ซื้อ จ่ายเงินให้กับ Affiliate Provider

  • Affiliate Provider จ่ายเงินให้กับร้านค้าที่เอาของมาขาย + จ่ายเงินค่าคอมมิสชั่นให้กับ ผู้ขาย

การโฆษณา Affiliate Program ของเราทำอย่างไรได้บ้าง

  • โฆษณา ผ่าน Search Engine Optimization (SEO)

  • โฆษณา ผ่าน Pay Per Click Program (PPC)

  • โฆษณา ผ่าน News Letter

  • โฆษณา ผ่าน สื่ออื่น ๆ

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนลงมือทำงาน

1. คุณจะต้องรู้ว่า affiliate program ของบริษัทนั้น ๆ มีอายุ cookie ยาวนานเท่าไหร่

cookie คือ script เล็ก ๆ ที่จะฝังไว้บนตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เข้าชมเว็บ ซึ่งจะบอกว่า ผู้เข้าชมเว็บคนนี้ใครเป็นคนส่งมา หรือส่งมาจากเว็บไหน เพื่อให้การคิดค่าคอมมิชชั่นของเราไม่ตกหล่น แม้ว่าผู้เข้าชมเว็บคนนั้นจะไม่ได้ทำการสั่งซื้อในครั้งแรกที่เข้าไปชมเว็บของบริษัทผู้ขายสินค้า

2. คุณจะต้องศึกษา สิ่งต่าง ๆ ที่บริษัทให้มาเพื่อนำไปใช้ในการโปรโมทสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เช่น banners, links ในปัจจุบันบางบริษัทยังให้ rss feed ไปใช้โดยมี affiliate ID ของเราแทรกอยู่ข้างใน เนื้อหาข่าวสารต่าง ๆ ที่ถูกดึงมาจาก rss feed ก็จะสามาระลิ้งค์ไปที่บริษัทผู้ขายสินค้า โดยที่ affiliate ID ของเราก็จะถูกบันทึกเก็บไว้ในคราวเดียวกัน เป็นต้น

3. ศึกษาว่าบริษัทมีตัวเลือกให้ทำการตลาดแบบใดบ้าง โดยปกตินั้นจะมีด้วยกันดังนี้

PPC หรือ pay per click บริษัทนั้น ๆ จะให้เรานำ แบนเนอร์ไปติด แล้วคิดเงินตามจำนวนคลิกที่เกิดขึ้นบนเว็บของเราเอง

PPM หรือ pay per 1,000 impression หมายถึง บริษัทนั้น ๆ จะให้เงินเราเป็นจำนวนหนึ่งจากการที่เราแสดงแบนเนอร์ 1,000 ครั้ง

PPL หรือ pay per lead (ส่วนตัวผมชอบอันนี้นะครับ) lead หมายถึงรายชื่อ หรือการสมัครสมาชิกฟรี หรือ เกิดการลงทะเบียน เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม เป็นต้น ซึ่งปกติแล้วบริษัทต่าง ๆ จะจ่ายให้ตามหัว ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัย westwood มีการทำ affiliate program โดยให้เป็น PPL หัวละ $12-$30 โดยถ้า zipcode ตรงกับสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยก็จะได้ $30 และเราจะได้เงินก็ต่อเมื่อมีผู้สนใจ ลงทะเบียนอีเมลล์ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ เพื่อรับข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติม

pay per sale หมายถึง เราขายของออกไปให้ได้ถึงจะได้ค่าคอมมิชชั่น สินค้าก็มีมากมายหลายอย่างให้เลือก แต่ที่ผมสังเกต เห็นว่าสินค้าประเภท ebook หรือ digital product นั้นจะได้ค่าคอมมิชชั่นที่สูงกว่า และขายง่ายกว่ามาก บางรายให้ค่าคอมมิชชั่นเราถึง 80% เลยทีเดียว ในการทำธุรกิจออนไลน์นั้น เราไม่จำเป็นจะต้องมีสินค้าของตัวเอง เพราะเราสามารถขายสินค้าของคนอื่นได้ อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นจะต้องรู้วิธีทำการตลาดที่ถูกต้องเพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้จากการทำ affiliate marketing นั่นเอง

สำหรับ www.yopi.co.th (บริษัท โยพิ เอเชีย จำกัด) นั้นก็ได้มี affiliate program ให้ทุก ๆ ท่านได้
โปรโมทเหมือนกัน โดยเริ่มแรกนั้น ท่านจะต้องสมัครสมาชิกเว็บของเราก่อน(ฟรี)

แล้วเลือกทำกับที่ไหนดี

บริษัทที่ขายสินค้า ต่างๆ แล้วยังเปิดรับตัวแทนจำหน่ายแบบนี้ มีหลายรายด้วยกัน อย่างเจ้าที่โด่งดังที่สุดในตอนนี้ก็ต้อง Amazon นับเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ของโลกที่มีความน่าเชื่อถือและมีสินค้าหลากหลายที่สามารถหาซื้อผ่านระบบออนไลน์ได้ แต่ Amazon.com มีข้อจำกัดสำหรับประเทศไทยอยู่มาก คือสินค้าบางอย่างเขาไม่จัดส่งมาให้ที่ประเทศไทย ซึ่งนั่นทำให้คนไทยไม่ค่อยสนใจจะหาซื้อสินค้าจาก Amazon สักเท่าไร ยิ่งเว็บไซด์ หรือ บล็อกของเรานั้นถูกเขียนหรือเรียบเรียงเนื้อหาต่างๆ มาใน version ภาษาไทย แล้วละก็สิ่งสำคัญที่สุดคือแล้วเราจะขายใคร… เพราะฉะนั้น ผมว่าเราควรจะหาแหล่ง Affiliate ที่เป็นของคนไทยด้วยกัน เพื่อจะได้มีสินค้าที่อยู่ในความต้องการหรืออยู่ในความสนใจของคนไทย อย่างเช่นหนังสือ ก็จะเป็นในรูปแบบภาษาไทย ซึ่งมันจะทำให้ผู้ที่ติดตามอ่านบล็อก ของเรานั้นจะให้ความสนใจและตัดสินใจซื้อสินค้า เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น ก็จะเป็นการทำให้เราสามารถได้รับค่าคอมมิชชั่นได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย วันนี้ผมจะมาแนะนำเกี่ยวกับ www.trendyday.com

ตัวอย่างเว็บไซต์พวกนี้ เช่น
1. Commission Junction (www.cj.com) เว็บไซต์นี้รวบรวมสินค้าและบริการจำนวนมากจากบริษัทหลายประเภท แยกไว้เป็นหมวดหมู่ เช่นหมึกพรินเตอร์ ของขวัญ ช็อกโกแลต รวมถึงบริการเช่น เช่าเว็บโฮสติ้ง ค่าคอมมิชชั่นขึ้นกับบริษัท ส่วนใหญ่อยู่ที่ 3-10 เปอร์เซ็นต์ของราคาขาย
2. Click Bank (www.clickbank.com) เว็บไซต์คลิกแบงก์เป็นศูนย์รวมการขายสินค้าผ่านระบบ Affiliate รายใหญ่ ซึ่งสินค้าและบริการที่ขายจะเน้นเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสือแบบ E book (อาจจะมาในรูปไฟล์ PDF) โปรแกรมคอมพิวเตอร์หลากหลายประเภท แอนตี้ไวรัส แอนตี้สปายแวร์ เป็นต้น ซึ่งเมื่อผู้ใช่ชำระเงินแล้วสามารถดาวน์โหลดสินค้าไปใช้ได้ทันที บริษัทที่นำสินค้าเข้าขายใน Click Bank ให้ค่าคอมมิชชั่นค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่อยู่ที่ 25-75% ของราคาขาย

นอกจากนี้บางบริษัท ก็เปิดให้สมัครเป็น Affiliate ผ่านเว็บไซต์ของตนเอง อย่างเช่น ผู้ขายสินค้าออนไลน์รายใหญ่อย่าง Amazon (www.amazon.com) ซึ่งมีสินค้าให้เราเลือกนำมาขายได้จำนวนมาก

Hotels Affiliate ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเรามีหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายห้องพักจากโรงแรมในไทยและหรือต่างประเทศ ถ้ามีคนจองห้องพักผ่านเรา ก็จะได้ค่าคอมมิชชั่น ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เปิดรับสมัคร Hotels Affiliate เช่น Agoda (www.agoda.co.th), Ido24 (www.ido24.com)

ถึงตอนนี้บางท่านอาจสงสัยว่าแล้วสมาชิกจะนำสินค้าไปโปรโมทขายที่ไหน เรื่องการโฆษณาสินค้าหรือเว็บไซต์เป็นเรื่องที่ท้าทายมากเรื่องหนึ่งในการทำธุรกิจออนไลน์ วิธีการโฆษณา ขึ้นกับความถนัดของแต่ละคน ตัวอย่างเช่นการโฆษณาใน Google Adwords การเขียนเว็บบล็อก การทำเว็บไซต์ การโฆษณาในเว็บบอร์ด (โดยไม่สแปม) การโฆษณาผ่าน Social Network ต่างๆ เช่น Hi5, Facebook, Twitter เป็นต้น

ขั้นตอนการสมัครและการจ่ายค่าคอมมิชชั่นของแต่ละบริษัทนั้นแตกต่างกันไป เรื่องการจ่ายค่าคอมมิชชั่น โดยส่วนใหญ่จะจ่ายเป็นเช็ค ซึ่งสามารถนำมาขึ้นเงินในธนาคารในประเทศไทยได้ บางเว็บไซต์มีบริการ Direct Deposit ซึ่งจะโอนเงินค่าคอมมิชชั่นผ่านทางธนาคารเข้ามายังบัญชีของเราเลย เช่น CJ, Clickbank

การทำ Affiliate เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ต้องการหารายได้ออนไลน์อย่างจริงจัง เนื่องจากมีแบบแผนที่ชัดเจน เป็นโมเดลธุรกิจที่มีความน่าเชื่อถือ หากทำได้ดีจะสามารถสร้างรายได้เป็นงานประจำได้

ส่วนประกอบของเว็บไซต์ Affiliate Marketing 

  • ระบบ LinkID (Link Identifier) เช่น ลิ้งตัวอักษร ป้ายโฆษณา ลิ้งค้นหาเป็นต้น เป็นส่วนที่เอาไปโปรโมท เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการผ่าน LinkID เราก็จะได้ค่าคอมมิสชั่นตามข้อตกลง

  • ระบบรายงานผลและสถิติต่างๆ ไว้ตรวจสอบข้อมูลการขาย เช่นจำนวนคลิก ค่าคอมมิสชั่นที่ได้รับ เป็นต้น

  • ระบบการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับตัวแทนโฆษณา อาจจ่ายเป็นเช็ค paypal

  • ระบบเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่สมัครเป็นตัวแทนโฆษณา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมลล์ เว็บเป็นต้น

สรุป
– การทำ Affiliate Marketing ก็คือการนำสินค้าหรือบริการของผู้ขายมาขายและเมื่อขายได้แล้วเราก็ได้ค่าคอมมิสชั่น นั่นเอง
– ระบบนี้มีข้อดี คือ สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่มี Internet, มีหรือไม่มีเว็บไซต์ของตัวเองก็ได้, ควบคุมต้นทุนได้ง่าย, เรียนรู้และเริ่มต้นได้เร็ว
– การขายสามารถทำการขายได้หลายรูปแบบ แต่ที่นิยมกันก็คือ การขายผ่าน เว็บไซต์ตัวเอง, การขายผ่าน Search Engine และ News Letter หรือ สื่ออื่น ๆ

วิดีโอประกอบ

http://www.emarketingthai.com/e-learning/lesson2/lesson2.html

What is Affiliate Marketing?

อ้างอิง

web traffic

Traffic คือ  เป็นการนับปริมาณคนเข้า – ออกเว็บไซต์หนึ่งๆ เพื่อใช้ตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพเว็บไซต์  และประการสำคัญ ยิ่งเว็บไซต์มี Traffic สูงยิ่งทำให้เป็นที่สนใจของบรรดา Robots ของSearch Engine ต่างๆ ทำให้แวะมาเก็บข้อมูลบ่อยขึ้น ที่สำคัญกว่านั้นย่อมทำให้การการโฆษณา การขายสินค้าในเว็บไซต์มียอดสูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งการหาTraffic อย่างไรให้เว็บไซต์เราแรงและพุ่งกระฉูด นั้น โดยหลักพื้นฐานนั้นโดยมากก็มีการแลกเปลี่ยน Link ระหว่างเว็บไซต์ ในกลุ่มเว็บไซต์เดียวกันเป็นสำคัญ ไม่ควรข้องเกี่ยวกับเว็บไซต์ใต้ดิน ผิดกฎหมายต่างๆ เด็ดขาดเพราะการได้อัตรา ปริมาณคนเข้าออกเว็บไซต์จากเว็บจำพวกนี้ ไม่ดีแน่นอน ซึ่งการตรวจสอบTraffic สามารถตรวจสอบได้โดยมีทั้งบริการฟรี และเสียค่าใช้จ่ายในการสมัค ซึ่งเบื้องต้นจึงขอแนะนำให้บริการทางด้านการเก็บสถิติเว็บไซต์ อาทิเช่น http://webstats.motigo.com หรือ เก็บข้อมูล hits+counter แบบง่ายๆ ที่ Hits.SIAMHRM.COM เป็นต้น

web traffic จะจัดแบ่งออกเป็นหลายๆกลุ่มด้วยกัน
1. web traffic ธรรมดา
2. web traffic ที่สนใจเว็บเรา
3. returning traffic คือคนที่สนใจเว็บเราแล้วกลับมาดูเว็บเราในวันต่อๆไป
4. Conversion Traffic อันนี้คือ traffic ที่มีความสำคัญที่สุด คือกลุ่มคนที่ตอบสนองต่อเว็บของเราครับ โดยเราจะคาดหวังคนกลุ่มนี้เป็นหลัก โดย Conversion Traffic คือคนที่เข้ามาในเว็บแล้วซื้อของเราในเว็บ โดยคิดง่ายๆครับว่า หากเว็บเรามีคนเข้า 100 คน แต่มี conversion traffic ถึง 50 คน เปรียบเทียบกับคนเข้าเว็บเรา 10,000 คนแต่มีคนซื้อของในเว็บเราจริงๆแค่ 1-3 คน เว็บไหนจะได้กำไรมากกว่ากัน ?

แอบดู Web Traffic คนอื่น 

อยากรู้ว่าตัวเองเจ๋งแค่ไหนในเว็บวงการเดียวกัน สิ่งหนึ่งที่ทำให้รู้ได้ ก็เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น โดยเฉพาะในเรื่อง Traffic แต่จะรู้ได้ไงว่าคนอื่นมี Traffic เท่าไหร่ เท่าที่ผมรู้ และจากการค้นหาเพิ่มเติม ในโลกนี้จะมีเครื่องมือล้วงข้อมูล Traffic เว็บคู่แข่งนั้น มีอยู่ทั่วโลกอยู่มากมาย แต่เท่าที่ใช้ได้จริงๆ ก็มีอยู่แค่หยิบมือเท่านั้นเอง โดยเฉพาะถ้าเป็นการแอบดู Traffic เว็บไทย นั่นทำให้ผมเริ่มศึกษาและทดลองใช้ ทำให้พบว่ามันเป็นไปไม่ได้ในการจะรู้จำนวน Traffic ที่แน่นอนหรือใกล้เคียงที่สุดของเว็บคนอื่นได้อย่างแม่นยำ ไม่มีทางเลย นอกซะจากเราจะมี user login Google Analytics ของคู่แข่ง ดัง นั้น ทำได้ดีที่สุดก็แค่ประเมิน estimate เท่านั้น  ซึ่งตัวที่แสดงข้อมูลได้ใกล้เคียงความจริงที่สุดก็คือ Google Trends for Web Site และ Google Ad Planer ครับ แต่มันมีบริการคล้ายๆ กันที่อ้างว่าเจ๋งจริง ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังก่อนว่าทำไมบริการที่อื่นๆ จึงไม่น่าใช้เท่ากับสองตัวฟรีๆ นี้

Truehits.net จ่ายเงินรายปี

ดู Traffic ชาวบ้านได้ชัวร์ แต่เสียเงิน 1,800 ต่อปี ระบบไม่ค่อยพัฒนา ยังใช้การวัดแบบ UIP ซึ่งไม่ห่างไกลกับความจริงซักหน่อย (ดูที่ visit น่าจะดีกว่า) แต่ถ้าใช้กับเว็บไทยผมว่าน่าจะดีที่สุดในเมืองไทยแล้วล่ะครับอันนี้ เพราะในเมืองไทยเราก็ไม่มีทางเลือกของเครื่องมืออะไรมากนัก

Alexa.com ฟรี หรือจ่ายเงินเพื่อให้ทางทีมงานวิเคราะห์เว็บให้ $99
ความเห็น: แม้ว่า Stat ที่แสดงจำนวนผู้ชมจะไม่แม่นยำหรือค่อนข้างห่างไกลความจริงก็ตาม แต่มันมีประโยชน์ตรงที่มันสามารถใช้เปรียบเทียบอันดับของเว็บจากจำนวน Traffic ได้ (Traffic Rank) ทำให้เรารู้จุดที่เรายืนอยู่ว่าห่างไกลกับคู่แข่งหรือห่างไกลในการทำอันดับ หนึ่งในเมืองไทยหรืออันดับโลกแค่ไหน

Compete.com ฟรี หรือเสียเงินเดือนละ $499
ความเห็ํน: ละเอียด แต่ Stat ไม่แม่นยำ ไม่ใกล้เคียงความจริงเลย โดยเฉพาะถ้าใช้วิเคราะห์เว็บในประเทศไทย

Quancast.com ฟรี
ความเห็น: มันไม่สามารถวิเคราะห์เว็บส่วนใหญ่ได้ (no data)

Hitwise.com
ความเห็น: ไม่มีประเทศไทย แต่ดูของเมืองนอก ให้รายละเอียดต่างๆ ที่ใช้ได้ทีเดียว

Google Trends for Web Site ฟรี

http://trends.google.com/websites

ความเห็น: แนะนำให้ใช้ตัวนี้สำหรับการเปรียบเทียบ unique visitor ของเว็บเรากับคู่แข่งครับ แม้ stat จะไม่ได้ดึงมาจาก Google Analytics โดยตรง แต่เท่าที่ผมลอง ตัวนี้ใกล้เคียงความจริงที่สุดครับ เพราะ Google ประเมิน unique visitor data มาจากจำนวน search บน Google search engine และจากเว็บเครือข่าย Google อื่นๆ

อ้างอิง

PageRank

ค่า Page Rank คืออะไร

ค่า Page Rank หรือที่เราเรียกกันว่าค่า (PR) เป็นคำนึงที่นัก SEO ทุกคนควรรู้จัก PR เปรียบเสมือนค่าๆนึงที่วัดความนิยม หรือระดับการใช้งานของหน้านั้นๆ ซึ่งแน่นอนว่ายิงเยอะเขาก็ว่ายิ่งดี โดยการได้ค่า PR ก็ขึ้นอยู่คุณภาพของเนื้อหาทราฟฟิค หรือ Page Popularity หรือปริมาณและคุณภาพของแบ็คลิงค์ที่เข้ามาสู่ Page ค่า Page Rank นั้น ในอดีตจะเปลี่ยนทุกประมาณสามเดือนขึ้นไป และขึ้นชื่อว่าเปลี่ยนยาก เพราะกูเกิ้ลให้ค่าสูงแต่ปัจจุบัน Algorithm ได้เปลี่ยนไปทำให้ดูเหมือน Page Rank จะมีค่าด้อยลง ในแง่ของการได้รับ เพราะบางหน้าก็ได้มาง่ายๆทั้งที่ไม่ควรจะได้ หรือได้มาอย่างรวดเร็วจนเกินไป

ปัจจุบันนักทำ SEO ทุกคนยังให้ค่ากับ Backlinks ที่มี PR สูง จะถือว่าเป็น Backlinks ที่มีคุณภาพครับ เพราะฉะนั้นราคาการขายลิงค์ หรือคุณค่าการทำ SEO จึงขึ้นอยู่กับ PR ในปัจจุบัน นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก

เราจะสามารถทราบว่าเว็บของเรา หรือ เว็บต่าง ๆ หรือ Blog ต่าง ๆ มีค่า PR เท่าไร ได้โดยการดาวน์โหลดและทำการติดตั้ง Google Toolbar หลังจากติดตั้งเสร็จคุณก็จะได้ IE ที่มีการแนบ Google Toolbar ที่สามารถเช็ค PR หรือ Page Rank ของเว็บต่าง ๆ ได้โดยการเข้าไปที่เว็บนั้น ๆ และให้เราสังเกต (ดังภาพ) จะพบว่าเว็บนั้น ๆ มีค่า PR หรือ Page Rank เท่าใด.

แล้วถ้าเราไม่อยากติดตั้ง โปรแกรม Google Toolbar หละจะสามารถเช็คได้หรือไม่ขอตอบว่าได้แน่นอนครับไม่ยุ่งยากอะไร เพราะมีคนที่คิดค้นโปรแกรมสำหรับการตรวจค่า Page Rank หรือ PR มาให้บริการแบบออนไลน์มากมายในที่นี้ขอยกตัวอย่างที่ SEO Chat ซึ่งจะมีเครื่องมือต่าง ๆ มากมายให้เราสามารถช่วยในการตรวจค่า Page Rank หรือ PR และยังมีเครื่องมือสำหรับการทำ Search Engine Optimization (SEO) อีกด้วย

การแสดงค่า Page Rank หรือ PR จะแสดงทุกหน้าเพจที่ได้รับการจัดลำดับ หรือ ได้รับการบันทึกลำดับจาก Google

วิธีการจัดลำดับ PR และการคำนวณค่า PR ของ Google ทางกูเกิ้ลเองจะทำการคำนวณจากลิงค์ของเว็บไซต์อื่นที่เชื่อมมายังเว็บไซต์เรา หรือ หน้าเพจนั้น ๆ ของเราลักษณะนี้เรียกว่า Inbound Link โดยจะคำนึงถึงคุณภาพของลิงค์ที่มาเป็นสำคัญ ยิ่งถ้าหากว่าคุณสามารถ ไปเชื่อมต่อลิงค์กับเว็บที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน หรือ คลายคลึงกันก็จะทำให้ค่า PR สูงขึ้นได้ และข้อสำคัญ ถ้าหากเว็บที่ทำการลิงค์มาหาคุณมีค่า PR สูง ๆ ด้วยหละก็คุณก็จะได้ค่า PR สูงไปด้วย เรียกว่าทางลัดเลยหละ

การเพิ่มค่า PR คุณสามารถดำเนินการได้โดยการเข้าไปขอเพิ่มลิงค์หรือ เพิ่มไดเร็คทอรี่ลิงค์ หรือ Blog Directory มายังเว็บหรือ Blog ของคุณ แต่การปรับระดับเพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้อาศัยเพียงการลิงค์อย่างเดียว เช่น คุณอาจมี Inbound Link มาหาคุณ 50 ในเดือนนี้ทำให้คุณมีค่า PR3 แล้วพอเดือนหน้าคุณไปทำการเพิ่มลิงค์อย่างนี้อีกประมาณ 100 Inbound Link การปรับระดับครั้งต่อไปอาจไม่ทำให้คุณมีค่า PR เพิ่มจาก PR3 เป็น PR4 เสมอไป เพราะการจะอัพเกรด PR ให้สูงขึ้นในแต่ละระดับนั้นไม่ได้อาศัยปัจจัยนี้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยความรู้บวกกับประสบการณ์และเทคนิควิธีการต่าง ๆ อีกมากมายและต้องอาศัยความพยายามอย่างมากเพื่อให้ได้ระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งต้องอาศัยความรู้เรื่องการจัดทำ Search Engine Optimization ที่ดีอีกประการหนึ่งด้วย.

จากรูปหากคุณสังเกตุ คุณจะรู้ว่าวงกลมวงใหญ่ ๆ (PR สูง) เนี่ย เกิดจากวงกลมวงเล็ก ๆ ลิ้งค์เข้าไปหา หรือนั่นก็คือยิ่งจำนวนลิ้งที่เข้ามาหาเว็บเรา (Inbound Link) มีจำนวนมาก เว็บเราก็จะยิ่งมี PR สูง แต่มันยังไม่จบแค่นั้น จำนวนลิ้งเป็นแค่องค์ประกอบเดียว แต่หากคุณลองสังเกตุวงกลม C จะเห็นว่าเป็นวงกลมค่อนข้างใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ได้รับ link มากจาก B แค่อันเดียว เพราะฉะนั้นการได้รับ link จากเว็บที่มี PR สูงจึงเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ยังมีอีก 1 อย่างที่รูปนี้อาจจะแสดงได้ไม่ชัดเจนนัก ก็คือ จำนวนลิ้งค์ที่ยิงออกจากวงกลมจะเป็นการแชร์ค่า PR ที่จะส่งไปให้อีกเว็บนึง เช่น วงกลม B มีลิ้งค์ออกแค่อันเดียว ซึ่งยิงไปที่ C เพราะฉะนั้น C จึงได้ค่า PR สูงมาก แต่ถ้า B ส่งออกไปให้ที่อื่นด้วยอีกที่นึง (สมมุติส่งให้ Z ที่ไม่มีในภาพ) วงกลม C ก็จะเล็กลง เพราะ้ต้องแบ่งค่า PR กับวงกลม Z นั่นเอง

Google PageRank คืออะไร ?

Google PageRank คือ วิธีการวัดความสำคัญของเว็บเพจนับล้านๆเว็บเพจบนอินเตอร์เน็ท โดยมีตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 10 ยิ่งตัวเลขยิ่งสูง PageRank ก็ยิ่งสูง นั่นหมายความว่าเว็บไซต์นั้นๆมีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่าเว็บไซต์ที่มี PageRank ต่ำกว่า โดยเราสามารถทราบค่า PR ของเว็บไซต์เราได้ โดย download และ install google toolbar (http://toolbar.google.com) หลังจากนั้นคุณจะสามารถดูคะแนน PR ของคุณที่จัดโดย google ได้ดังรูป

ถ้าไม่ต้องการ install google toolbar สามารถ check ค่า PageRank ได้ที่ เว็บไซต์ www.pagerank.net

** หัวใจของ Page Rank คือ แลกลิงค์กับเว็บไซต์อื่นๆ ให้มากและถ้าเป็นเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเว็บเราและเป็นเว็บที่มีค่า PR สูง ยิ่งทำให้เว็บไซต์เรามีค่า PR สูงขึ้นด้วย

ค่า PR นั่นแสดงค่าทุกๆหน้าของเว็บไซต์เราใช่หรือไม่ ?

ค่า PR ของแต่ละเว็บเพจ ในเว็บไซต์หนึ่งๆ นั้นจะมีค่าแตกต่างกันไป ทั้งนี้ โดยมากโฮมเพจ มักมีค่า PR สูงกว่าหน้าอื่นๆ แต่ก็ไม่เสมอไป

Google คำนวณค่า PR อย่างไร ?

ค่า PR ถูกคำนวณ โดยจำนวนลิงค์ของเว็บไซต์อื่นๆ ที่เชื่อมลิงค์มายังเว็บไซต์ของคุณ (Inbound Link) ทั้งนี้คำนึงถึงคุณภาพ (คุณภาพของลิงค์หมายถึง เว็บเพจที่ลิงค์มาหาคุณมีความเกี่ยวข้องและเกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ของคุณ ) และค่า PR ของเว็บไซต์ที่ลิงค์มายังเว็บไซต์คุณด้วย ยิ่งเว็บไซต์ที่ลิงค์มาหาคุณมี PR สูงๆ ค่า PR ของเว็บคุณก็มีแนวโน้มที่จะสูงตามไปด้วย ค่า PageRank นั้นใช้วิธีการเดียวกับระบบการโหวต หนึ่งลิงค์ที่เชื่อมโยงมายังเว็บไซต์ของคุณ ยิ่งมีค่า PR สูงเท่าใด Google ยิ่งเห็นความสำคัญของเว็บเพจนั้นๆมากยิ่งขึ้น และหากมีลิงค์มาจำนวนมากลิงค์มายังเว็บไซต์คุณ ค่า PR เว็บคุณก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

ทำอย่างไรถึงจะได้ค่า PR เพิ่มขึ้น ?

ค่า PR นั้นจะเพิ่มขึ้นได้ในแต่ละขั้นจาก 1 ไป 2 , จาก 2 ไป 3,… , จาก 9 ไป 10 นั้น มีกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน แต่ไม่ได้เป็นลักษณะเช่น คุณมีเว็บที่เชื่อมโยงลิงค์มาหาเว็บไซต์ คุณจาก 50 inbound link เป็น 100 inbound link (เพิ่มขึ้น 50 หน่วย) เว็บเพจนั้นๆอาจมีค่า PR เพิ่มขึ้นจาก 2 เป็น PR 3 แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ค่า PR 3 จะปรับเพิ่มขึ้นเป็น PR 4 โดย ที่คุณมี inbound link เพิ่มจาก 100 เป็น 150 (เพิ่มขึ้น 50 หน่วย) เสมอไป อาจต้องมี inbound link เพิ่มขึ้นถึง 200 หน่วย ค่า PR ถึงจะเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นในค่า PR ในแต่ละขั้นนั้น เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความรู้ ความพยายามเป็นอย่างมาก

การเพิ่มหน้าเว็บเพจที่มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ส่งผลให้ค่า PR เพิ่มขึ้นหรือไม่ ?

คำตอบคือไม่ อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วคือ หากคุณสามารถทำให้มีเว็บลิงค์มายังเว็บคุณได้มากขึ้นเท่าไหร่ PR ของเว็บคุณก็จะสูงมากขึ้นตามลำดับ แต่ทั้งนี้หากคุณนำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในเว็บเพจนั้นๆ นั่นหมายความว่า คุณอาจได้รับการขอแลกลิงค์จากเว็บมาสเตอร์คนอื่นๆมายังเว็บไซต์คุณก็เป็นได้ ซึ่งเท่ากับเพิ่มจำนวนลิงค์ให้มากขึ้นในที่สุด

เนื้อหาของเว็บเพจที่ลิงค์มายังเว็บไซต์คุณ มีผลอย่างไรต่อค่า PR ?

หากเว็บเพจที่เชื่อมโยงลิงค์มายังเว็บคุณ มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับเว็บไซต์คุณมากเท่าใด Google จะพิจารณาให้ค่า PR ของเว็บคุณสูงยิ่งขึ้น

หากเว็บเพจที่เชื่อมโยงลิงค์มายังเว็บไซต์เรามี ค่า PR ต่ำ จะส่งผลกระทบต่อค่า PR ของเว็บไซต์เราหรือไม่ ?

การที่มีเว็บเพจเชื่อมโยงมาหาเว็บคุณจำนวนมากขึ้นนั้น โดยที่เว็บเพจนั้นๆมีค่า PR ระหว่าง 0-3 จะไม่ส่งผลกระทบต่อค่า PR ของเว็บคุณในทันที แต่เหมือนกับสะสมคะแนนไปเรื่อยๆ อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว ยิ่งเว็บเพจที่เชื่อมโยงมายังเว็บไซต์คุณมีเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับเว็บไซต์คุณมากเท่าใด ยังส่งผลดีมากกว่า เว็บเพจที่มีเนื้อหาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์คุณเลยแต่มีค่า PR สูง และเชื่อมโยงลิงค์มาหาเว็บคุณ อย่าลืมว่า PageRank เป็นแค่ปัจจัยหนึ่งในการจัดลำดับความสำคัญของเว็บเพจหนึ่งๆเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกด้วย

เว็บที่มีค่า PR ต่ำๆ จะทำให้ค่า PR ของเว็บไซต์เราลดลงหรือไม่ ?

คำตอบคือ ไม่อย่างแน่นอน การแลกลิงค์กับเว็บไซต์ที่มีค่า PR ต่ำ (อาจเป็นเว็บที่เพิ่งเปิดตัว เป็นต้น) แต่มีเนื้อหาที่เกี่ยวพันกับเว็บไซต์คุณอาจทำให้ PR ของเว็บไซต์ของทั้งสองแห่งเพิ่มขึ้นพร้อมๆกันก็เป็นไปได้ แต่อย่าเข้าร่วมกับโปรแกรมแลกเปลี่ยนลิงค์ใดๆที่เป็นการโกงเสิร์ชเอนจิ้น ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์คุณถูกถอนออกจากฐานข้อมูลของเสิร์ชเอนจิ้นในทีสุด

ค่า PR เราตกลงได้หรือไม่ ?

ค่า PageRank สามารถลดลงได้ หากเว็บไซต์คุณมีจำนวนลิงค์ที่เชื่อมโยงมาหาเว็บไซต์คุณน้อยลง ซึ่งบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงมาหาคุณมีค่า PR ลดลงก็เป็นได้

Google PageRank จะอัพเดทเมื่อไหร่

เรื่องนี้น่าจะเป็นคำถามที่ผมคิดว่าหลายคนที่ทำเว็บน่าจะอยากรู้คือ “แล้วเมื่อไหร่ล่ะฉันจะมีค่า PR กับเขาซักที ” หรือ “เมื่อไหร่ล่ะค่า PR ของฉันจะเพิ่ม” คำตอบคือ อย่าไปสนใจ พยามทำเว็บให้ดี หา Back Links คุณภาพให้ได้เยอะๆ แล้ววันใด Google เค้าอัพเดท PR ของคุณก็ จะขึ้นสูงเองแต่หากอยากได้ความหวังซักหน่อย ลองเข้าเว็บนี้ดูครับ http://googlepagerankupdates.com/top/ เพื่อเช็คว่า Google จะอัพเดทค่า PR เมื่อไหร่อาจจะสร้างความหวังให้คุณได้บ้าง

ทำอย่างไรถึงจะได้ค่า PR ?

เรื่องนี้ผมว่าชาวเว็บมาสเตอร์ไทยถนัด เพราะ หัวใจหลักสำหรับการที่จะได้ค่า PR มาก็คือ การแลกลิงค์  พยายามแลกลิงค์ กับเว็บไซด์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับเว็บไซด์ของเราและหากเว็บไซด์ที่เราแลกลิงค์ด้วยนั้นเค้ามีค่า PR สูงๆ อยู่แล้วก็ยิ่งเป็นผลดีกับเรา ให้เราได้ค่า PR ที่สูงขึ้นด้วย

มีเว็บไซต์ไหนบ้างที่มีค่าคะแนน Pagerank สูง ๆ
เว็บไซต์เหล่านี้ จากการตรวจสอบ ณ. เวลาปัจจุบันมีค่า Pagerank สูงครับ (ทั้ง 3 เว็บเป็นเว็บที่มีความน่าเชื่อถือสูงมาก)

Fake Pagerank ?
การหลอกค่าคะแนน Pagerank หรือ ที่เรียกกันว่า Fake PR ด้วย ค่าคะแนน Pagerank สามารถหลอกได้ด้วยหรือไม่ ต้องขอตอบว่า “ได้ครับ” (แต่ไม่แนะนำให้ทำ เพราะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ กับเว็บที่ทำเลย) วิธีง่ายที่สุดที่นิยมทำกันคือ ทำการ Redirect ให้ Google เข้าใจผิด และสับสนระหว่างการตัดสินใจให้คะแนนหน้าเว็บเพจ เช่น เว็บ sample.com ทำ redirect ไปที่หน้าเว็บของ google.com ค่าคะแนน Pagerank ที่ sample.com ได้อาจจะเป็นค่าคะแนนของ google.com แทน

มีวิธีตรวจสอบอย่างไร ว่า Fake Pagerank หรือไม่ ?
วิธีตรวจสอบอย่างง่ายทำได้โดยตรวจสอบจากหน้าเอกสารที่ Google บันทึกไว้ โดยการค้นหาผ่าน Google Search Box ด้วยคำค้นตัวอย่าง เช่น cache:sample.com ให้สังเกตการแสดงผลของผลลัพธ์ที่ได้ ว่าตรงกับหน้าเว็บปัจจุบันของ sample.com หรือไม่ ถ้าไม่ตรงกัน (อาจจะมองเห็นเป็นคนละเว็บต่างโดเมนกันเลย) แสดงว่า Fake ครับ

อ้างอิง

10 ขั้นตอนของการ Search Engine Optimization Process

Step 1 Initial Analysis การวิเคราะห์ขั้นต้น

ขั้นตอนแรกของ 10 ขั้นตอน SEO, การวิเคราะห์เบื้องต้น หลายองค์กรมองข้ามการวิเคราะห์ตลาด และเสี่ยงทำไปด้วยตนเอง เราให้คำแนะนำผู้คนเสมอเพื่อดูแลการตลาดออนไลน์เหมือนกับการทำตลาดในด้านอื่นๆ การวิเคราะห์ตลาดการทำงบประมาณก้อนใหญ่มันจะทำให้ไม่ผิดหวัง

1. มีตลาดสำหรับสินค้าบริการของคุณไหม?

2. สินค้าและบริการอะไรของคุณที่ออกไปแข่งขัน?

3. ใครคือผู้ฟัง(กลุ่มเป้าหมาย)?

4. ช่องทางการตลาดของคุณคือ?

5. ผลักดันกลยุทธ์ทางการตลาด

Step 2 Keyword Research and Analysis การวิจัยและวิเคราะห์คีย์เวิร์ด

การวิจัยคีย์เวิร์ดน่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของ Search Engine Optimisation (SEO) นี่คือส่วนที่ควรจะให้การดูแลและให้ความสนใจเป็นพิเศษ

สิ่งสำคัญสำหรับเจ้าของเว็บไซต์มือใหม่คือ การที่ทำอย่างไรก็ได้ ให้เว็บไซต์ของตัวเองเป็นที่รู้จักของผู้สนใจ หรือเรียกว่า การตลาดเว็บไซต์ โดยสิ่งที่สำคัญที่ควรจะต้องพิจารณาเป็นอย่างแรกเลย ก็คือ คีย์เวิร์ด Keywords ก่อน สร้างเว็บไซต์ขึ้นมาซักเว็บไซต์นึง คุณจะต้องคำนึงถึงว่า เว็บไซต์นั้นมุ่งเน้นกลุ่มผู้สนใจแบบใด จากนั้นก็สมมุตตัวเองว่า ถ้าตัวเองเป็นผู้สนใจในเว็บๆนึงเราจะใช้คำอะไรในการค้นหา ซึ่งต้องไม่ยาวเกินไป และไม่สั้นเกินไปที่จะสรุปในความต้องการนั้นได้ อย่างแรกก็คิดเลยว่าการที่จะค้นหาเว็บไซต์นั้น ส่วนใหญ่เขาต้องค้นหาด้วยคำว่าอะไร ทั้งหมดรวมเรียกว่า เทคนิค SEO

ปกติคนทั่วไปค้นหาเว็บไซต์ในเว็บที่ให้บริการค้นหาข้อมูลเป็นร้อยละ 92 และอีกร้อยละ 8 คือผู้ที่เข้าถึงเว็บไซต์ผ่านผู้แนะนำ ลิงค์ต่างๆจากเว็บบอร์ด และสุดท้ายคือมาจากการโฆษณา และนี่ก็คือเหตุผลที่ว่าทำไมเว็บไซต์ให้บริการสืบค้นหาข้อมูลจึงเป็นที่นิยม

ซึ่งขั้นตอนการทำให้เว็บไซต์อยู่ในอันดับต้นๆนั้น จะมาจากช่องทางการโฆษณาเวปไซต์ หรือที่เรียกว่า Search Engine Marketing (SEM) ซึ่งการที่จะทำให้เว็บไซต์หนึ่งๆ ติดอันดับต้นๆของผลการ search แล้วนั้น ผู้เป็นเจ้าของต้องมีการลงโฆษณา หรือมีค่าใช้จ่ายเพื่อดึงดูดความสนใจจากกลุ่มผู้มุ่งหวังด้วย แต่ผู้ที่ประสบความสำเร็จด้วยวิธีการดังกล่าวก็มีเปอร์เซ็นต์น้อยมาก ดังนั้นการพัฒนาเว็บไซต์ให้เกิดจากการ search โดยตรงจากกลุ่มผู้สนใจเอง จึงยังคงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินต่อไป

  • Make a list of related keywords. ทำรายการคีย์เวิร์ด

  • Selection of keywords with the help of keyword research tool เลือกคีย์เวิร์ดด้วยเครื่องมือช่วย เช่น Google Keyword Research Tool ,Word tracker ,Word stream

  • Target your keywords. ระบุคีย์เวิร์ด

  • Prepare to place keywords. เตรียมการใส่คีย์เวิร์ด

  • Monitoring keywords ติดตามผล

Step 3 Competitor Analysis การวิเคราะห์คู่แข่ง

การวิจัยคู่แข่งจะช่วยให้กลยุทธ์ทางการตลาดเข้าใกล้กับคู่แข่ง การวิจัยคู่แข่งยังจะช่วยส่งเสริมให้คุณภาพเว็บไซต์ของคุณติดอันดับในการจัดอันดับว่าพวกเขาสามารถเข้าถึงเว็บไซต์คุณหรือไม่ ขั้นตอนที่ 3 ของสิบขั้นตอนการทำ SEO เราจะดูที่สิ่งที่ได้เปรียบคู่แข่งของคุณ เราจะใช้มองอย่าใกล้ชิดเพื่อการเชื่อมโยงไปกับคู่แข่งของคุณ คุณภาพโดยรวมในการแข่งขัน เราจะไม่ใช้เวลานานเกินไปในส่วนนี้ เพียงแต่จะดูในจุดที่สำคัญๆ โดยจะมองไปที่ 10-12 อันดับเว็บไซต์สำหรับคีย์เวิร์ดประกอบกับในขั้นตอนที่ 2 โดยการรู้คู่แข่ง จะเป็นการเข้าใกล้คู่แข่งอย่างใกล้ชิดที่สุด

  • Keyword Phrase Analysis which your competitor is using  วิเคราะห์คีย์เวิร์ดที่คู่แข่งใช้

  • Analysis of link structure. วิเคราะห์โครงสร้างการเชื่อมต่อ

  • Analysis of source code. วิเคราะห์ซอร์ทโค้ด

  • avigation Structure. วางโครงนำร่อง

Step 4 Sitemap + RSS feed Inclusion

เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะพัฒนาเว็บไซต์ ช่วยรวบรวมข้อมูล ช่วยรู้ลำดับชั้นของเว็บไซต์

1. Sitemap คืออะไร 
Sitemap แปลเป็นภาษาไทยแบบบ้านๆ ว่า แผนที่เว็บไซต์ หรือ แผงผังเว็บไซต์ ซึ่ง Sitemap ก็คือความหมายตรงๆ ของคำที่แปลเป็นภาษาไทยก็คือแผนที่ของเว็บไซต์ ซึ่ง Sitemap ในเว็บไซต์จะต้องอธิบายโครงสร้างทั้งหมดของเว็บไซต์ได้ เพื่อเป็นการสร้างปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อ Search Engine (Google,Yahoo) และผู้ใช้งานทั่วไปด้วย ซึ่งในหน้า Sitemap นี้จะเป็นการรวม Link ทั้งหมดภายในเว็บไซต์ให้อยู่เพียงหน้านี้หน้าเดียว

2. ประเภทของ Sitemap 
ตรงนี้จะให้ทำความเข้าใจกับ Sitemap ก่อนว่าทำไม Sitemap จะต้องมีการแบ่งประเภทด้วย ? แล้วเอาอะไรมาตัดสินในการแบ่งประเภทกันแน่ ?
– ทำไม Sitemap จะต้องมีการแบ่งประเภทด้วย ?
เหตุที่ต้องแบ่งนี้เพราะว่าเว็บไซต์ที่ดีควรจะมี Sitemap เพื่อให้ Search Engine อ่าน และผู้ใช้งานทั่วไปอ่าน ดังนั้นการทำเว็บไซต์ที่ดีก็ควรจะมี Sitemap ทั้งสองรูปแบบ
– เอาอะไรมาตัดสินในการแบ่งประเภทกันแน่ ?
โดยปกติแล้วหากเราต้องการสร้างปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อ Search Engine เราจะต้องทำให้ Sitemap ของเราอยู่ในรูปแบบของภาษา XML ซึ่งจะทำให้ Bot หรือ Spider ของ Search Engine สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ว่านี้คือ Sitemap ตัวอย่างของ Sitemap ในรูปแบบ XML ที่ถูกต้อง ..

http://www.sutenm.com/sitemap.xml

http://seo.siamsupport.com/sitemap.xml

ส่วน Sitemap สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปก็ควรจะเป็นหน้าที่เรียบๆ ง่ายๆ สามารถดูแล้วเข้าใจโครงสร้างของเว็บไซต์ทั้งหมดได้ว่าเว็บไซต์นี้มีอะไรบ้าง โดยควรให้เว็บไซต์ดูเรียบง่าย สวยงาม และให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้าถึงหน้า Sitemap นี้ได้โดยง่าย

ตัวอย่างเช่น

http://www.sutenm.com/sitemap-page/

http://www.google.com/sitemap.html

3. ประโยชน์ที่ได้จากการทำ Sitemap ในเว็บไซต์
ประโยชน์ที่ได้จากการทำ Sitemap ในส่วนของ Search Engine นั้นจะช่วยเพิ่มโอกาศในการ Index ให้ดีมากขึ้นกว่าเดิม และในส่วนของผู้ใช้งานนั้นจะเป็นในรูปแบบความสะดวกในการรับรู้โครงสร้างทั้ง หมดของเว็บไซต์ ซึ่งในส่วนของผู้ใช้งานนี้ทางเว็บไซต์ควรจะมีปุ่ม Link ไปยังหน้า Sitemap ในจุดที่สามารถมองเห็นได้ง่ายๆ ด้วย

4. แนะนำ Tools ในการ Generator Sitemap

  • WordPress มี Plugins หมายตัวที่สามารถสร้าง Sitemap ได้แต่ขอแนะนำ Tools ตัวนี้ ชื่อ Dagon Design Sitemap Generator ที่ช่วยสร้าง Sitemap หลังจาก Active แล้วให้ไปสร้างหน้า Pages ขึ้นมา และนำ Code นี้วางแบบ HTML และ Tools ที่ช่วยสร้าง Sitemap.xml ที่ชื่อ XML Sitemap Generator for WordPress ตัวนี้หลังจาก Active แล้วมันจะทำงานแบบ Auto หมดเลยครับ

  • Joomla จะมี อยู่หลายตัวที่จะช่วยสร้าง Sitemap ได้แต่ขอแนะนำตัวที่ผมใช้อยู่ตัวนี้ ชื่อ Xmap หลังจากลงแล้วก็ไปเพิ่มเมนูให้เข้าถึง Component ตัวนี้ได้ใน Menu นะครับ หรือหากอยากลองตัวอื่นบ้างก็เข้าที่Sitemap ตรงนี้นะครับ ตัวไหนดีไม่มีก็มาแนะนำกันได้ครับ

Step 5 Search Engine + Directory Submission

Search Engine คือ ระบบที่เก็บข้อมูลของเว็บไซต์ต่างๆไว้ และให้บริการผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับคำหรือวลีที่ต้องการ

ความสำคัญของ Search Engine

ในอินเตอร์เน็ตมีเว็บเพจนับไม่ถ้วน และมีเว็บไซต์รวมถึงเว็บเพจใหม่ๆเพิ่มขึ้นทุกวัน หากไม่มี Search Engine ท่านลองนึกภาพดูซิครับว่า เราจะหาข้อมูลที่เราต้องการได้อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น หากท่านต้องการเช่ารถที่จังหวัดภูเก็ต ท่านคงไม่รู้ว่ามีเว็บไซต์ http://www.purecarrent.com ที่ให้บริการรถเช่า แต่สิ่งที่ท่านต้องทำก็คือ เข้าไปที่ Search Engine แล้วสั่งค้นหาโดยใช้คำว่า “ภูเก็ต รถเช่า” หรืออะไรทำนองนั้น

Search Engine จะรู้จักเว็บไซต์ของเราได้อย่างไร

การทำให้ Search Engine รู้จัก หรือมีข้อมูลของเว็บไซต์ของเราในฐานข้อมูลของ Search Engine นั้นมีได้หลายวิธี เช่น การซื้อโฆษณา การใส่ข้อมูลของเว็บไซต์เราเข้าไปในเสิร์จเอนจิ้น (Search Engine Submission)

Search Engine Submission

Search Engine Submission คือ การส่งข้อมูลของเว็บเพจ หรือเว็บไซต์ของเราเข้าไปใน Search Engine เหมือนกับการแนะนำตัวให้ Search Engine รู้จักกับเว็บไซต์ของเรา เพื่อให้ Search Engine แสดงชื่อของเว็บไซต์ของเรา เมื่อมีคนทำการค้นหาข้อมูลที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเราใน Search Engine

ข้อมูลที่เราจะส่งเข้าไปใน Search Engine มักจะเป็นข้อมูลในส่วนของ Meta Tag ของเว็บเพจนั้นๆ ซึ่งโดยมากข้อมูลที่ใช้ก็คือ ชื่อเว็บเพจ (webpage title) รายละเอียดโดยย่อของเว็บเพจ (description) และ คำสำคัญที่บอกถึงเนื้อหาหลักของเว็บเพจ (keywords)

Directory Submissions การลงทะเบียนเวปไซต์ เพิ่มช่องทางค้นหา

Submit Directory หรือแปลเป็นไทยว่า “การลงทะเบียนเวปไซต์ เข้าในหมวดหมู่ที่สามารถหาได้ง่าย ของเวปไซต์นั้นๆ” หรืออีกความหมายหนึ่งคือ การเพิ่มช่องทางการค้นหาเวปไซต์ ของเรานั่นเอง ตัวอย่างเช่น Yellow Pages หรือสมุดหน้าเหลือง คือหนึ่งในบริการลงทะเบียนหน่วยงาน บริษัท ห้างร้านต่างๆ ในหมวดหมู่ที่เป็นระเบียบ และง่ายต่อการค้นหา

Step 6 Social Bookmarking

Social Bookmarking เป็นเครื่องมือที่ช่วยบริหารจัดการสารสนเทศออนไลน์ที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต โดยมี folksonomy ซึ่งเป็นคำที่ผู้ใช้ร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อสื่อถึงเนื้อหาในเรื่องนั้นๆ เพื่อแบ่งหมวดหมู่และช่วยในการค้นหา รวมถึงการเชื่อมโยงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ตลอดจนการใช้ tags เพื่อช่วยแยกหมวดหมู่ของเรื่องต่างๆ ออกเป็นกลุ่มก้อนที่ชัดเจน

ข้อจำกัดของ Social Bookmarking เว็บเพจหรือเว็บไซต์บางเว็บอาจจะไม่ถูกค้นเจอ เพราะการทำ tagging คือ tag บาง tag หายไปจากการสืบค้น เพราะการสะกดผิด tag 1 tag มีความหมายมากกว่า 1 หรือเรื่องคำเหมือน คำพ้อง เป็นต้น รวมถึงไม่มีเครื่องมือที่ช่วยบ่งชี้ หรือคัดกรอง tag ที่ลำดับขั้นสัมพันธ์กัน

ประโยชน์ที่ได้รับคือ

  1. ได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆจากทั้วทุกมุมโลก

  2. แบ่งบันสิ่งต่างๆที่ชื่นชอบ

  3. ได้พบผู้คนมากมาย

ตัวอย่างรายชื่อ Social Bookamark

Step 7 Blogs + Press Release Creation การสร้างบล็อกและประชาสัมพันธ์

บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย

Blog กับ SEO

1. Blog ช่วยให้ทำ SEO ได้ง่ายขึ้น
จากข้อมูลเบื้องต้นของการทำ SEO พบว่า keyword มีส่วนสำคัญ สำหรับการทำ SEO โดย keyword ต่าง ๆ ที่เราใช้เป็นเป้าหมายในการทำ SEO นั้น ต้องมีแทรกอยู่ในหลาย ๆ ส่วนของหน้าเว็บไซต์ของเรา

คราวนี้กลับมามองอีกมุมนึงบ้าง เมื่อลักษณะเด่นของ blog คือการที่เราสามารถ เขียนบทความใหม่ๆ ขึ้นมาได้สะดวกมากขึ้น โดยบทความเหล่านั้น เป็นตัวอักษร ซึ่งจะเป็นตัวเอื้อประโยชน์ให้กับ Search Engine ในการค้นหา keyword ต่าง ๆ ที่อยู่ในบทความของเราเหล่านั้นนั่นเอง

2. SEO ช่วยโปรโมท Blog
บล็อกก็เป็นเพียงแค่เว็บไซต์ชนิดหนึ่ง ดังนั้นหากเราต้องการโปรโมทบล็อก ก็หลีกเลี่ยงไมได้ที่จะต้องทำ SEO ควบคู่ไปด้วย อย่างที่บอกในข้อ 1 ไปแล้วว่า เราได้ประโยชน์จากบล็อก ในเรื่องตัว keyword ในบทความ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เพียงแค่เขียนบทความ ไม่ได้ทำให้เว็บไซต์เราพร้อม สำหรับการทำ SEO เราจึงต้องเลือกสรร keyword ที่เราต้องการทำ SEO ใส่ไว้ตามที่ต่าง ๆ ด้วย

Press release คือ การประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่ผ่านทางสื่อต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้สาธารณะทราบถึงการประชาสัมพันธ์นั้นๆ

วิธีการเขียน press releases

ขั้นตอนง่ายๆ 5 ขั้นตอนในการเขียน press release
1 สิ่งที่ต้องการสื่อ
2 คิดอย่างนักหนังสือพิมพ์
3 เขียน press release อย่างถูกต้อง
4 ทำ press release ให้สั้น ได้ใจความ
5 โปรโมต press release ของคุณผ่านทางเว็บไซต์

Step 8 ARTICLE SUBMISSION การรวมบทความ

การ submit ARTICLE คือบริการ สร้าง Back Link ให้กับเว็บของคุณ โดยจะทำการโพสต์เนื้อหาเกี่ยวกับเว็บของคุณในลักษณะ Blog Post บนเว็บในเครือข่ายของเราและทำการสร้าง link ไปยังเว็บไซต์ของคุณในบทความนั้น ๆ และบทความทั้งหมดจะทำ link ให้เชื่อมทั้งเครือข่าย หรือที่เรียกกันว่า Link Wheel ในรูปแบบของ Matrix Link

ซึ่งการเชื่อมในลักษณะนี่จะทำให้ทุกบทความที่ link มาหาเว็บของคุณได้รับ link จากเว็บในเครือข่ายด้วยกันเอง เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง เพิ่มความเป็น authority ในคำนั้น ๆ และส่งต่อค่านั้นมายังเว็บไซต์ของคุณ ทำให้เว็บของคุณได้อันดับที่ดีขึ้นในคำที่ต้องการ

Article Submissions จึงเป็นที่โด่งดังและเรียกเรตติ้งให้กับเว็บไซต์กันอย่างกระหน่ำเลยทีเดียว ซึ่งจะเรียกรวมว่า การทำ Back Links นั่นเอง มาถึงตรงนี้หลายคนคงนึกเห็นภาพกันคร่าวๆได้แล้ว เพราะการทำ Back Links ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียกคะแนนการติดอันดับเว็บไซต์ค้นหาอย่างเช่น GoogleYahooBing ในขั้นตอนการทำSEO ได้เป็นอย่างดี โดยที่วันนี้ SEO For Thai ก็จะนำขั้นตอนการทำงานมาฝากกันเบื้องต้น รวมถึงแนะนำเว็บไซต์ดังๆสำหรับฝากบทความของเรากันนะครับ

Step 9 Link Popularity การสร้างความนิยม

แปลว่า ความนิยมเว็บไซต์ เป็นการใช้วัดค่าความนิยมของเว็บไซต์เรา ว่ามีจำนวนเว็บไซต์ หรือกี่เว็บเพจที่เชื่อมโยงลิงค์มายังเว็บไซต์ของเรา Link Popularity ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำ SEO เลยทีเดียว
Link Popularity ส่งผลดีเป็นอย่างมากในการจัดอันดับบนเสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) ยิ่งเว็บไซต์เรามี Link Popularity สูง ก็มีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่สูงกว่า หรือดีกว่าเว็บไซต์ที่มี Link Popularity ต่ำกว่า

กฏของ SEO ได้จำแนกรูปแบบของ Link Popularity เป็นหลากหลายประเภท แต่ที่มีประโยชน์ที่สุดจะเพียง 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

One-Way Links 
1-Way Links เป็นการแจก Links ไปทางเดียวโดยไม่ต้องการ Links กลับมาหาเรา เช่น เว็บไซต์ Daydevทำ Links ไปที่เว็บไซต์ Kondentang แต่ว่าเว็บไซต์ Kondentang ไม่ได้ทำ Links ให้กับมาที่เว็บ Daydev

Two-Way Links 
2-Way Links การพ่วง Links แบบสองทาง เช่น เว็บไซต์ Daydev ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ Stockwave และ เว็บไซต์ Stockwave ได้ Links กลับไปหาเว็บไซต์ Daydev คืน

Three-Way Links 
3-Way Links แน่นอน Links สามเศร้า เช่น เว็บไซต์ Daydev ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ Kondentang แล้วเว็บไซต์Kondentang ให้เว็บไซต์ Stockwave ก็ได้ Link กลับไปหาเว็บไซต์ Daydev

ซึ่งการทำ One-Way Links และ Three-Way Links ตามตัวอย่างข้างต้น จะส่งผลดีให้กับเว็บไซต์Kondentang ในฐานะเว็บคนกลาง มากกว่าการทำ Two-Way Links ในมุมมองของ SEO ซึ่งตรงๆเลยว่า เราควรเป็นคนกลางที่จะมีคน Links เข้ามาและก็จ่ายให้ Link ออกไปอ้อมๆกลับคืน

ประโยชน์ของ Link Popularity ก็มีอยู่ไม่มากครับ การที่มี Links เข้าหาเว็บไซต์มากๆ เป็นหลายๆ Links ทำให้โอกาสที่ Robot ของ Search Engine ต่างๆ เข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ เรามากขึ้นมีมาก ละนอกจากนี้ก็ยัง เพิ่มโอกาส ของผู้ที่สนใจผ่าน Links เข้ามาหาดูข้อมูลทำให้เกิดจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น อีกทั้งจำนวน Links ที่เชิญคนเข้ามาชมเว็บไซต์เราเยอะๆนั้น ก็ทำให้ความน่าเชื่อถือเว็บไซต์ เราดีขึ้นอีกต่างหาก

Step 10 SERP Report (SERP search engine results page) การแสดงผลลัพธ์การค้นหา

 1.การวางโครงสร้างที่ดี

ในส่วนนี้ กล่าวคือ การทำ On Page Factor ให้ดูดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งตรงนี้จะกล่าวถึง การวางกลุ่มเป้าหมายของคีย์เวิร์คที่เราต้องการ, การจัดวางคอนเท้นต์ภายในหน้าเว็บ, การวางหัวข้อของเนื้อหา, การจัดวางเนื้อหาทั้งหมด ตรงนี้ดูเหมือนซับซ้อนวกวาน แต่ง่ายๆครับ .. จัดวางให้เป็นอ่านง่าย ไม่ซับซ้อนไม่ว่าจะทางโค้ดดิ้ง (เขียนโค้ด) และการอ่านจริง (ให้ผู้เยี่ยมชมอ่าน)

2.การออกแบบที่ดี
หลังจากโครงสร้างเว็บไซต์ดีแล้ว เราควรจะใช้ธีม/ตีมที่เป็นมิตรกับ Search Engine ด้วย, การวางโครงสร้างลิ้งไม่ว่าจะเป็นภายในและภายนอก (Internal & External Link) เราควรจะดูแลและให้ความสำัคัญในส่วนนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว และเมื่อย้อนกลับมาที่ ธีม ของเว็บแล้ว .. ต้องไม่ลืมว่า เทคนิคเล็กน้อยๆที่(ผม)เรียนรู้ได้จากการสังเกตุก็คือ .. หากเว็บใดมีทราฟฟิกจำนวนมาก เมื่อมีพลังจากธีมที่มิตรกับ Search Engine .. คุณจะได้รับพลังจาก SE ให้มีอันดับ SERP (Search Engine Report Page) ดีๆได้โดยที่คุณไม่ต้องออกแรงโปรโมทมากเลยทีเดียว

3.คอนเท้นต์
การที่เคยได้ยินจากคำบอกต่อว่า เมื่อทราฟฟิกคือพระเจ้าแล้ว คอนเท้นต์เนี้ยแหละตัวแม่เลยครับ การสร้างคอนเท้นต์ที่ไม่ซ้ำ ไม่คัดลอก และไม่มีใครเหมือนจะเป็นตัวฉุดเว็บเราให้มีพลังในการอยู่ Ranking สูงๆบน Search Engine ได้เลย

4.Backlinks
กลับมาเรื่องเดิมๆอีกครั้ง .. การสร้างลิ้งกลับมายังเว็บเรายังเป็นเรื่องสำคัญมากๆในการทำ SEO เพราะขาดลิ้งก็คล้ายกันว่าเราขาดใจ ! .. แต่ต้องไม่ลืิมนะครับว่ายิ่้งต่าง Class C IP มากเท่าไหร่ ยิ่งเจ๋ง!

SEO สำคัญยังไง

อินเตอร์เน็ตในยุคปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่ใช้ Search Engine ในการค้นหาข้อมูล แทนที่จะต้องพิมพ์ URL (Uniform Resource Locator) ก็ใช้ Keyword (คำค้น) ป้อนลงไปใน Search Engine Box ต่างๆ ก็จะค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการได้อย่างง่ายดาย และตรงประเด็น มีให้เลือกเปรียบเทียบอีกหลายๆ แห่ง สำหรับเรื่องๆ นั้น และเมื่อค้นพบแล้ว ก็จะมีการแสดงผลออกมาหลายๆ หน้า หลายๆ เว็บไซต์ เว็บที่ถูกแสดงเป็นอันดับที่ 1 2 3 หรือที่แสดงผลในหน้าแรก ก็จะถูกคลิกเข้าไปดูข้อมูลมากที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง เว็บไซต์ต่างๆ ย่อมต้องการให้เว็บตัวเองขึ้นอันดับ 1 ของ Keyword นั้นๆ เผื่อผลประโยชน์หลายๆ ด้านเช่น ขายสินค้า โฆษณา หรือโปรโมทร้านค้า บริษัทของตัวเอง ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง

วิดีโอประกอบ

อ้างอิง

Assignment 2

ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (domain name) คืออะไร

โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่าย
ทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันที
โดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร

โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ

ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1.  โดเมน 2 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
2.  โดเมน 3 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ

โดนเมนเนม 2 ระดับ
จะประกอบด้วย  www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น http://www.b2ccreation.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้

* .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
* .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
* .edu คือ สถาบันการศึกษา
* .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
* .mil คือ องค์กรทางทหาร

โดนเมนเนม 3 ระดับ  
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น http://www.kmitnb.ac.th, http://www.nectec.or.th, http://www.google.co.th

ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ

* .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .ac คือ สถาบันการศึกษา
* .go คือ องค์กรของรัฐบาล
* .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
* .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร

ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร

* .th   คือ ประเทศไทย
* .cn  คือ ประเทศจีน
* .uk  คือ ประเทศอังกฤษ
* .jp   คือ ประเทศญี่ปุ่น
* .au  คือ ประเทศออสเตรเลีย

การจดทะเบียนโดเมนเนม คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

ชื่อโดเมน ก็เปรียบเสมือน ชื่อบริษัท ชื่อร้านค้า ชื่อยี่ห้อ ที่มีความสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ หรือการสร้างแนวทางความคิด การขาย การสร้างยี่ห้อ ทุกๆ อย่างล้วนแล้วแต่สัมพันธ์กับชื่อ ในระบบโลกออนไลน์ ชื่อดังกล่าว ก็คือ โดเมนเนม นั่นเอง

สำหรับ โดเมน ในระบบสากลที่เป็นที่นิยม และได้รับการยอมรับอย่างมาก ก็คือ .com (ดอทคอม) .net (ดอทเน็ต) .org (ดอทอ๊อก) ซึ่งแต่ก่อนนามสกุลของโดเมน มีไว้เพื่อแยกแยะประเภทของเว็บไซต์ เพื่อให้ระบบสามารถจัดเก็บเว็บไซต์ได้เป็นหมวดหมู่ แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อก่อนการจดทะเบียนโดเมนเนมนั้น ไม่ได้มีการตรวจสอบ ซึ่งจริง ๆ แล้ว ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า เว็บไซต์ที่กำลังจะจัดทำขึ้นมานั้นเป็นเว็บไซต์ประเภทใด

บางคนอาจจะจดโดเมน .org ที่เป็นนามสกุลสำหรับเว็บไซต์องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร แต่กลับไปทำการค้า ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ได้มีข้อห้ามที่ชัดเจนจากองค์กรที่เป็นผู้รับรองการจดทะเบียนโดเมนอย่าง ICANN ด้วยสาเหตุที่ไม่สามารถตรวจสอบเว็บไซต์ประเภทต่าง ๆ ว่าได้ดำเนินวิธีการสร้างเว็บไซต์ไว้ตรงกับชื่อโดเมนเนมที่ได้จดทะเบียนหรือไม่ จึงเป็นเหตุในการจดทะเบียนโดเมนในปัจจุบัน มีผู้จดเพื่อแสวงหาผลกำไร มีผู้จดทะเบียนโดเมนไว้เก็งกำไร มีผู้จดทะเบียนโดเมนไว้ขายต่อ บางคนจดมาก็ไม่ใช้ทำเว็บไซต์ก็มี

โดเมนเนมชื่อดี ๆ จึงมักจะถูกจองเอาไว้แล้ว ทั้งนี้ทาง ICANN เองก็ได้มองเห็นปัญหาดังกล่าว และได้มีการอนุมัตินามสกุลใหม่ ๆ ของโดเมนเนมออกมาอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น .info (ดอทอินโฟ) .us (ดอทยูเอส) .biz (ดอทบิส) .ws (ดอทดับบลิวเอส) ซึ่งทาง ICANN ก็ได้วางประเภทของเว็บไซต์ที่จะใช้งานภายใต้นามสกุลต่าง ๆ ไว้ชัดเจน ที่เหลือก็คือเรื่องของจรรยาบรรณในการจัดทำเว็บไซต์ของผู้พัฒนาเว็บไซต์ ว่าจะทำเว็บไซต์ได้สอดคล้องกับชื่อโดเมนเนมที่จดทะเบียนไว้หรือไม่

ความหมายโดยย่อของชื่อโดเมนนามสกุลต่าง ๆ

.com หมายถึง commercial หรือโดเมนเนมที่เป็นเรื่องของการค้าขาย

.net หมายถึง internet หรือโดเมนเนมที่เป็นเรื่องของ Internet

.org หมายถึง organization หรือ โดเมนเนมที่เป็นเรื่องขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร

.info หมายถึง information หรือ โดเมนเนมที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ข้อมูลสารสนเทศ

.us หมายถึง unitedstate หรือ โดเมนเนมที่เป็นเว็บไซต์ภายในประเทศสหรัฐอเมริกา

.biz หมายถึง business หรือ โดเมนเนมที่เป็นเรื่องของธุรกิจ

.ws หมายถึง website หรือ โดเมนเนมที่เป็นเรื่องของเว็บไซต์

การจดทะเบียนโดเมนใด ๆ ควรจะจดตรงกับผู้ให้บริการที่ได้รับความน่าเชื่อถือ และได้รับการรับรองจาก ICANN ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการรับจดทะเบียนโดเมน จะเป็น Reseller หรือ Distributor ของทางต่างประเทศอีกที ซึ่งก็มีความสามารถในการจดทะเบียนโดเมน โดยได้รับการรับรองโดยตรงจาก ICANN เช่นกั

จดโดเมนเนม ( Domain name )

การจดโดเมนเนม ( Domain name ) เป็นอีกหนึ่งบริการที่มีประสิทธิภาพจากไทยโฮสคลับ ซึ่ง เรารับ จดโดเมน หลากหลายนามสกุล เพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของท่าน สำหรับลูกค้าที่ต้องการจดโดเมนเนมใหม่ กรุณาตรวจชื่อโดเมนว่างที่ท่านต้องการจด โดยกรอกชื่อที่ต้องการ โดยไม่ต้องใส่ www จากนั้นเลือกนามสกุล แล้วกดปุ่ม Search ระบบจะทำการค้นหา และแสดงผลให้ท่านทราบว่าชื่อนั้นยังว่างอยู่หรือไม่

ราคาโดเมน

ท่านสามาถจดโดเมนได้ หลังจาก ตรวจสอบโดเมนเนม ที่มีสถานะเป็น “ว่าง” เท่านั้นค่ะ

ตัวอย่างเช่น caseiphone.com แล้วกด “ตรวจสอบ”

โดเมนเนม ไม่ว่าง  ต้องเลือกโดเมนนามสกุลอื่น เช่นตัวอย่างเลือก .biz  ราคา 450.00 บาท/ปี แล้วกด “ทำการสั่งซื้อ”

กรอกรายละเอียดเพื่อสมัครสมาชิก

กด “สรุปรายการสั่งซื้อ”

อ้างอิง  :

http://www.b2ccreation.com/content/knowledgebase/kb_view.asp?kbid=19

http://www.naxza.com/what-is-domain-name-registration.hosting

http://www.thaihostclub.com/%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99

Assignment 1

1. ISP คืออะไรมีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างไรกับอินเทอร์เน็ต

ISP  คือ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต โดย ISP (บางครั้งเรียก ISPs) ย่อมาจากคำว่า Internet Service Provide  เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกคะ ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับ บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป  ประเภทหลังนี้จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม  นอกจากนี้ ISP หลาย ๆ แห่งจะมีบริการเพิ่มเติม เช่น บัญชีอีเมล เว็บเบราว์เซอร์ และเนื้อที่สร้างเว็บไซต์  เช่น บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส หรือ  บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต ฯลฯ
ส่วนวิธีที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับ ISP ทำได้โดยการใช้สายโทรศัพท์ (การเรียกผ่านสายโทรศัพท์) หรือ การเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ (สายเคเบิล หรือ DSL)

2. จงสรุปความหมายของอินเทอร์เน็ตมาพอเข้าใจ

อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก

3. เว็บเพจ และเว็บไซท์เหมือนหรือต่างกันอย่างไรจงอธิบาย

– เว็บเพจ คือ

เอกสาร ข้อมูล โดยจะอยู่ในรูปแบบ ของ html พูดง่ายๆก็คือ เป็นหน้าที่แสดงผลอยู่ตอนนี้นี่เอง ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเอกสารอื่นๆ ด้วยไฮเปอร์ลิงค์ ตามที่แสดงในรูป
หน้าเอกสารที่นำเสนอบนเว็บ มักเขียนด้วยภาษาที่เขียนบนเว็บโดยเฉพาะที่เรียกว่า HTML ซึ่งอาจจะเขียนขึ้นด้วยเครื่องมือช่วยเว็บบางตัวหรือถูกแปลงและให้แสดงผลด้วยภาษาคอมพิวเตอร์บนเว็บบางชนิด โปรแกรมที่ช่วยเขียนได้เช่น Dreamweaver,Frontpage,Golive
เว็บไซต์ คือ แหล่งรวบรวมเอกสารเว็บเพจทั้งหลายให้รวมอยู่ในแหล่งเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกค้นข้อมูลได้ อาจกล่าวได้ว่าเอกสารเว็บเพจหลายๆหน้าที่เก็บไว้รวมกันไว้ที่เดียวกัน
การเรียกชื่อกลุ่มก้อนของเว็บเพจรวมกันหลายๆหน้า บางครั้งเราอาจเรียก แทน domain name (domain name เช่น http://www.th.easyhostdomain.com)

4. ยกตัวอย่างบริการบนอินเทอร์เน็ตที่ น.ศ. เคยใช้มา 2 บริการ

– ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) : การส่งและรับจดหมาย หรือข้อความถึงกันได้ทั่วโลก


– Search Engine : การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา website ที่ให้บริการ search engine เช่น www.yahoo.com, http://www.sanook.com, http://www.google.co.th, www.sansarn.com

5. หากต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ควรทำอย่างไรจงอธิบาย

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)

1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์

โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet) 

1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ
อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้
หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 – 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
 1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network) 
เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN

2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)        
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbpsและความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
    องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม 
1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net

3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop) 
ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูงนี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย ADSL
1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net

4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download)ด้วยความเร็วสูงในระดับเมกะบิตต่อวินาทีแต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
   องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยดาวเทียม 
1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
4. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น

6. องค์ประกอบของการพัฒนาเว็บไซต์ต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบายมาพอเข้าใจ

แนวทางหลักการออกแบบเว็บไซต์สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เริ่มต้นใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์

·  การวางแผน การวางแผนนับว่ามีความสำคัญมากในการสร้างเว็บไซต์ เพื่อให้การทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ มีแนว ทางที่ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ ซึ่งประกอบด้วย
·  การกำหนดเนื้อหาและจุดประสงค์ของเว็บไซต์ การกำหนดเนื้อหาและจุดประสงค์ของเว็บไซต์ที่จะสร้าง นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์เลยทีเดียว เพื่อให้เห็นภาพว่าเราต้องการนำเสนอข้อมูลแบบใด เช่น เว็บไซต์เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร การบริการด้านต่าง ๆ หรือขายสินค้า เป็นต้น เมื่อสามารถกำหนดจุดประสงค์ของเว็บไซต์ได้แล้ว เงื่อนไขเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดโครง สร้างรูปแบบรวมถึงหน้าตา และสีเว็บไซต์ของเราด้วย
·  การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้การสร้างและออกแบบเว็บไซต์ได้รับความนิยม การกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเข้าชมเว็บไซต์ก็นับว่ามีส่วนสำคัญไม่น้อย เช่น เว็บไซต์สำหรับเยาวชน นักเรียน นักศึกษาในการค้นหาข้อมูล หรือเว็บไซต์สำหรับบุคคลทั่วไปที่เข้าไปใช้บริการต่าง ๆ เป็นต้น
·  การเตรียมข้อมูล เนื้อหาหรือข้อมูลจัดว่าเป็นสิ่งที่เชิญชวนให้ผู้อื่นเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และต้องทราบว่าข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ สามารถนำมาจากแหล่งใดบ้าง เช่น การคิดนำเสนอข้อมูลด้วยตัวเอง หรือนำข้อมูลที่น่าสนใจมาจากสื่ออื่น เช่น หนังสือพิมพ์ แมกกาซีน เว็บไซต์ และที่สำคัญ ขออนุญาตเจ้าของบทความก่อนเพื่อป้องกันเรื่องลิขสิทธิ์ด้วย
·  การเตรียมสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็น ในการออกแบบเว็บไซต์ต้องอาศัยความสามารถต่าง ๆ เช่น โปรแกรมสำหรับสร้าง เว็บไซต์ ภาพเคลื่อนไหว มัลติมีเดีย การจดโดเมนเนม การหาผู้ให้บริการรับฝากเว็บไซต์ (Web Hosting) เป็นต้น
·  การจัดโครงสร้างข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลต่าง ๆ เช่น กำหนดเนื้อหาและจุดประสงค์ของเว็บไซต์ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การเตรียมข้อมูล การเตรียมสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นจากขั้นแรกเรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนนี้ เราจะจัดระบบเพื่อใช้เป็นกรอบสำหรับการออกแบบและดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
· โครงสร้างและสารบัญของเว็บไซต์
· การใช้ระบบนำผู้เข้าชมไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์หรือที่เราเรียกว่าระบบนำทาง (Navigation)
· องค์ประกอบที่ต้องนำมาใช้ เช่น สื่อมัลติมีเดีย ภาพกราฟิก แบบฟอร์มต่าง ๆ
· การกำหนดรูปแบบและลักษณะของเว็บเพจ
· การกำหนดฐานข้อมูล ภาษาสคริปต์หรือแอปพลิเคชันที่นำมาใช้ในเว็บไซต์
· การบริการเสริมต่าง ๆ
· การออกแบบเว็บไซต์ นับเป็นขั้นตอนในการออกแบบรูปร่าง โครงสร้างและลักษณะทางด้านกราฟิกของหน้าเว็บเพจโดย โปรแกรมที่เหมาะสมในการออกแบบคือ Photoshop หรือ Fireworks ซึ่งจะช่วยในการสร้างเค้าโครงของหน้าเว็บและองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ชื่อเว็บไซต์ โลโก้ รูปไอคอน ปุ่มไอคอน ภาพเคลื่อนไหว แบนเนอร์โฆษณา เป็นต้น
· ในการออกแบบเว็บไซต์นั้นยังต้องคำนึงถึงสีสันและรูปแบบของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ภาพกราฟิก เช่น ขนาดของตัวอักษร สีของข้อความ สีพื้น ลวดลายของเส้นกรอบเพื่อความสวยงามและดึงดูดผู้เยี่ยมชมด้วย

7. เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบ DNS มาใช้เพื่ออ้างอิงถึงชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การอ้างอิงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตอาจใช้หมายเลข IP address เพื่ออ้างอิงได้ แต่การเรียกใช้อาจทำให้ยุ่งยากเนื่องจากการจดจำหมายเลขดังกล่าวอาจไม่คุ้นหรือยากกว่าชื่อที่สามารถพิมพ์หรือระบุเป็นอักษรได้ตรงๆ Domain Name System จึงได้ถูกนำเอามาใช้สนับสนุนให้เกิดการทำงานดังกล่าวโดยจะเป็นการแปลงชื่อโดเมนที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา ให้เป็นหมายเลข IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเพื่อดึงข้อมูลมาแสดงผลนั้นเอง การแปลงข้อมูลจะกระทำโดยเครื่อง DNS Server โดยตรง

อ้างอิง

http://seeddy.150m.com/Homework%208.html

http://school.obec.go.th/mrPaisan/e-learning/information/content/internet1.htm

http://school.obec.go.th/krunarinrat/internet/kantorrabob.html

http://www.skpbn.ac.th/kruboonyarat/dream/lesson1/02.php

http://th.easyhostdomain.com/content-website-webpage-homepage.html

http://www.krusamut.com/?p=57